โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

 

สมาร์ทโฟน (Smartphone) คำนี้จริงๆก็มีใช้งานมานานแล้ว เป็นชื่อที่ใช้เรียกโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่มีคุณสมบัติหรือมีความสามารถเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการสนทนาและส่งข้อความหากันผ่านเครือข่ายฯ นั่นคือ ใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ได้ด้วยในตัว เช่น มีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (OS), ติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชั่นได้, เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ฯลฯ

 

3osแรกเริ่มหลายคนคงเคยรู้จักและเคยใช้งานโทรศัพท์มือถือบางรุ่นในอดีตที่ใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการบนมือถืออย่าง Symbian, Windows Mobile, BlackBerry ฯลฯ มาก่อน ซึ่งมือถือเหล่านี้ถือเป็นอุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นแรกๆ แต่ผู้คนอาจยังไม่ค่อยรู้จักหรือคุ้นเคยกับคำว่าสมาร์ทโฟนในอดีตซักเท่าไหร่ เพราะตัวเครื่องมีราคาแพงแถมการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายก็ดูชักช้าอืดอาด แต่เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารบนโทรศัพท์มือถือก้าวรุดหน้า จากอดีตที่เคยเป็นแค่โทรศัพท์ที่ใช้พูดคุยหรือสนทนากันด้วยเสียงและส่งข้อความ SMS หากันในยุค 2G แต่ด้วยอัตราความต้องการการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ดูจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารให้ก้าวรุดหน้าไปอีกขั้น ด้วยการจัดสรรให้มีช่องสัญญาณหรือคลื่นความถี่ที่รองรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม และรองรับกับปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงเป็นที่มาของการสื่อสารข้อมูลในยุค 3G และ 4G ในปัจจุบัน

 

3os2โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน (Smartphone) ก็เช่นกัน นอกจากจะเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอย่าง Windows Phone, Android และ iOS แล้ว ปัจจุบันยังถูกพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลายจนแทบจะไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ดูหนังฟังเพลงออนไลน์, ถ่ายรูปและวิดีโอด้วยกล้องความละเอียดสูง พร้อมฟังก์ชั่นในการตกแต่งภาพหรือตัดต่อคลิปวิดีโอ, สนทนาแบบเห็นหน้ากันเป็นภาพเคลื่อนไหวในแบบ Real-Time, ตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง IP Camera ผ่านมือถือ, อัพโหลดคลิปวิดีโอของตัวเองขึ้นเผยแพร่บน Youtube ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมอุปกรณ์ Smartphone ถึงได้รับความนิยมสูงสุด จนเรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันไปแล้ว เพราะทุกวันนี้ถือเป็นอุปกรณ์ที่แทบทุกคนจะต้องมีพกติดตัวไปไหนมาไหนอยู่ทุกที่ด้วยเสมอ จิงป่ะ!

 

เกริ่นมาพอละ ทีนี้ขอเข้าเรื่องเลยละกัน ก็อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดจิ๋วที่เป็นโทรศัพท์ให้พูดคุยกับคนอื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นในตัวของมันจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะคอยทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทุกอย่างที่ถูกส่งมา และนั่นก็คือ ซีพียู (CPU) หรือในที่นี้ก็คือ ชิปประมวลผล นั่นเอง ซึ่งมันจะมีความสำคัญแค่ไหน ทำหน้าที่อะไรบ้าง และมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไปดูกันครับ

 

ชิปประมวลผล (CPU) บนมือถือ

 

iphone_5s_chipset_hero_2ก่อนอื่นอยากให้มองภาพง่ายๆว่า มือถือหรือสมาร์ทโฟนของเราจริงๆแล้ว มันก็เปรียบเสมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องนึงแบบเดียวกับพีซีหรือโน้ตบุ๊คที่คุณคุ้นเคยนั่นแหละ เพียงแต่เค้าคิดค้นและออกแบบให้ชิ้นส่วนทุกๆอย่างของมันเล็กมากๆ เล็กเสียจนเรียกได้ว่าเป็นการจับเอาคอมพิวเตอร์ทั้งชุดยัดใส่ลงไปในมือถือหรือสมาร์ทโฟนที่มีขนาดเพียงแค่ฝ่ามือของคุณนั่นแหละ ฟังดูแล้วน่าทึ่งใช่มั๊ยล่ะ!! ทีนี้ลองนึกภาพว่าหากเราแกะฝาครอบและชิ้นส่วนต่างๆที่เป็นพลาสติกออกก็จะเหลือแต่ส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ อาทิ จอแสดงผล แบตเตอรี่ กล้อง ปุ่มกด ฯลฯ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ (ไม่ได้ถูกติดตั้งตายตัวลงบนแผงวงจร) และแผงวงจรรวมที่ติดตั้งชิป ส่วนเชื่อมต่อ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่สำคัญเอาไว้มากมาย ซึ่งแผงวงจรรวมดังกล่าวนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีชิปประมวลผล (CPU) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของมือถือหรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนอยู่ด้วย

 

open phone

 

iphone-6-teardown-1024x768

 

socทีนี้เรามาพูดกันเน้นๆถึงชิปประมวลผล (CPU) อ๊ะ…ไม่ใช่สิ !!! จริงๆต้องเรียกว่า “ชิปเอนกประสงค์“ เพราะในความเป็นจริงแล้วชิปดังกล่าวเป็นชิปแบบ System on a Chip (SoC) หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เป็นการรวมเอาองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ ซึ่งจะคอยทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เช่น หน่วยประมวลผลข้อมูล (CPU), หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU), หน่วยความจำ (ROM/RAM/EEPROM/FLASH), ส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller), ส่วนควบคุมการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ, ส่วนควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Voltage Regulators) และวงจรการจัดการพลังงาน (Power Management Circuits) มาผนวกรวมกันเอาไว้อยู่ภายในชิปเพียงตัวเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดพื้นที่นั่นเอง

 

เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของชิปประมวลผลบนมือถือหรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันดีแล้ว ก่อนจะไปทำความรู้จักกับชิปประมวลผลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆในปัจจุบัน ว่าไอ้รุ่นนั้นรุ่นนี้ที่เค้ากำลังฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น มันใช้ชิปประมวลผลอะไรกันบ้าง ผมจะขอคั่นด้วยการใช้โอกาสนี้อธิบายถึงที่มาที่ไปของคำว่า สถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86 ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสักเล็กน้อย ซึ่งผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยเห็นผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้วแต่อาจยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรหรือแตกต่างกันยังไง ตรงนี้ผมจะมาแจกแจงรายละเอียดให้ฟัง แต่…อ๊ะๆ ผมขอพักเข้าโฆษณา อ๊ะ! ไม่ช่ายยยย! ขอยกไปเป็นบทความถัดไปแล้วกันนะครับ เพราะรายละเอียดดูจะเข้มข้นสักนิดนึง แล้วอย่าลืมติดตามอ่านกันหล่ะ กิ๊วๆ

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน” ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

อินเทลเปิดตัวเอสโอซีรุ่นใหม่แบบมัลติคอร์ กินไฟต่ำ สำหรับแท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน และอุปกรณ์ประมวลผลอื่นๆ

bay intel

อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม, ซานฟรานซิสโก, 12 กันยายน 2556 ? วันนี้ อินเทล คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดตัวเอสโอซี (SoC ? system-on-a-chip) ซึ่งเป็นชิพแบบที่มีระบบประมวลผลต่างๆ ฝังอยู่ในชิพตัวเดียวกัน ตระกูลใหม่ล่าสุดซึ่ง กินไฟต่ำ ที่มีชื่อรหัสเดิมคือ ?เบย์เทรล? (Bay Trail) เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะสูงและประหยัดพลังงาน ตั้งแต่แท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน ไปจนถึงอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ให้พร้อมรองรับความต้องการของทั้งนักธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปในราวไตรมาสสี่ของปีนี้ โดยมีผู้ผลิตชั้นนำที่เตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ได้แก่ เอเอวีเอ* เอเซอร์* เอซุส* เดลล์* เลอโนโว* และ โตชิบา* เป็นต้น

 

โปรเซสเซอร์ในตระกูล ?เบย์เทรล? ผลิตด้วยสถาปัตยกรรมระดับไมโคร ?ซิลเวอร์มอนท์? ของอินเทล ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและกินไฟต่ำ และเปิดตัวไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 โดยมี อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ หรือ ?เบย์เทรล-ที? (Intel Atom Z3000 Processor Series or ?Bay Trail-T?) เป็น เอสโอซี มัลติคอร์ สำหรับอุปกรณ์โมบายล์รุ่นแรกที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในปัจจุบันของอินเทล เหมาะสำหรับแท็บเล็ตและอุปกรณ์โมบายล์อื่นๆ ที่ต้องการดีไซน์บางเบา ทำงานได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว และมีความลงตัวทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพ อายุการใช้งานแบตเตอรี่ กราฟิกและคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย

 

สถาปัตยกรรมระดับไมโครรุ่นใหม่ดังกล่าวรองรับการทำงานในหลากรูปแบบ ทำให้เอสโอซีสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดกลุ่มต่างๆ ได้ โดยมีให้เลือกทั้ง อินเทล? เพนเที่ยม? โปรเซสเซอร์ (เบย์เทรล-เอ็ม) และ เซเลอรอน? โปรเซสเซอร์ (เบย์เทรล-ดี) สำหรับอุปกรณ์ทูอินวันระดับเริ่มต้น แล็ปท้อป เดสก์ท้อป และอุปกรณ์ออลอินวัน

 

เอสโอซีในตระกูล ?เบย์เทรล? เป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากมาย ในการกำหนดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งให้สามารถใช้ได้ทั้งวินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์?เพื่อดีไซน์ตัวเครื่องได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้หลายระดับราคาเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกได้ตรงตามความต้องการทั้งในกลุ่มนักธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไป

 

เฮอร์แมน อูล รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มโมบายล์และการสื่อสารของอินเทล กล่าวว่า ?สิ่งที่เรานำเสนอในแพลตฟอร์ม เบย์เทรล คือ เอสโอซีที่มีพลังสมรรถนะสูงอย่างไม่น่าเชื่อ จุดแข็งที่โดดเด่นของแพลตฟอร์มนี้จึงมีทั้งด้านประสิทธิภาพ ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนาน และประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้คนที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พันธมิตรในระดับโออีเอ็มของเราที่นำเบย์เทรลไปพัฒนาสินค้าของตน จะสามารถดีไซน์ตัวอุปกรณ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลายและมีจำหน่ายในหลายระดับราคา เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค นักธุรกิจ และผู้จัดการฝ่ายไอที?

 

เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ให้ขึ้นไปถึงจุดซึ่งเป็นที่ต้องการของอุปกรณ์พกพา อินเทล จึงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาและความท้าทายต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมถึงความสามารถในการทำงานมัลติทาสก์ ยืดระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ คุณสมบัติด้านกราฟิกที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้น และความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์พกพาที่ทำให้ใช้งานได้เพลิดเพลินยิ่งขึ้น สำหรับวิดีโอคลิปที่มีเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับผู้บริหารและนักพัฒนาซึ่งเกี่ยวข้องกับเบย์เทรล สามารถดูได้ที่ intel.synapticdigital.com

 

แท็บเล็ตที่มีสมรรถนะสูงขึ้น อุปกรณ์ทูอินวันที่ใช้อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์
อินเทล อะตอม แซท3000 เป็นซีรี่ส์โปรเซสเซอร์ที่ให้สมรรถนะในระดับสูงพร้อมด้วยอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานตลอดวัน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของอินเทลที่มีความสามารถสูงที่สุดและให้ประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับแท็บเล็ตและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่ต้องการดีไซน์บางเบา ด้วยขนาดที่เล็กกว่าเดิม กินไฟต่ำ แต่มีสมรรถนะในการประมวลผลมากกว่าเดิมถึงสองเท่า และมีสมรรถนะด้านกราฟิกดีกว่าเดิมถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นปัจจุบัน แพลตฟอร์มเอสโอซีรุ่นกินไฟต่ำช่วยให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานได้นานกว่า 10 ชั่วโมง และเปิดสแตนด์บายได้นานถึงสามสัปดาห์โดยที่เครื่องยังสามารถเชื่อมต่อออนไลน์ได้ตลอดเวลา

 

นอกจากนี้ อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ยังมีเทคโนโลยี Intel? Burst Technology 2.0 และมี 4 คอร์ 4 เธรด และแคช L2 ขนาด 2 MB โดยที่สมรรถนะดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานในลักษณะมัลติทาส์ก สร้างและอ่านหรือดูคอนเทนท์ได้เต็มที่ และเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะใช้บนแอนดรอยด์หรือวินโดวส์ 8 นอกจากนี้ ยังมีดีไซน์ของตัวเครื่องให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต หรือ อุปกรณ์ทูอินวัน โดยตัวอุปกรณ์สามารถดีไซน์ให้มีความบางเบาได้ตั้งแต่ขนาด 8 มม.ไปจนถึง 1 ปอนด์ (ประมาณ 0.45 กก.) และมีขนาดจอตั้งแต่ 7-11.6 นิ้ว สำหรับแท็บเล็ตที่ใช้ เอสโอซี อินเทล อะตอม จะมีจำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,000 บาท)

 

สำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจ อินเทล อะตอม แซท3000 ซีรี่ส์ ยังทำให้แท็บเล็ตมีประสิทธิภาพและดีไซน์ซึ่งเป็นที่ต้องการ โดยมาพร้อมกับระบบการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฝ่ายไอที คุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ได้แก่ เทคโนโลยี McAfee? DeepSAFE*, AES hardware full disk encryption, Intel? Platform Trust Technology, Intel? Identity Protection Technology และ Intel Data Protection Technology โดยเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานบนแพลตฟอร์มนี้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ยังรองรับการทำงานของ Microsoft Windows 8 Pro Domain Join and Group Policy และใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์พ่วงต่อต่างๆ ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

 

อินเทลได้ทำงานร่วมกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้มั่นใจว่า แพลตฟอร์มที่ใช้สถาปัตยกรรมอินเทลทั้งบนวินโดวส์และแอนดรอยด์จะให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด นักพัฒนาบางส่วนที่อินเทลร่วมงานด้วย ได้แก่ Cyberlink, Skype-HD และ Netflix-HD, PhiSix, Arcsoft, Tieto, Gameloft รวมถึงแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจอีกหลายราย โดยอินเทลมุ่งเน้นในด้านคุณภาพสูงสุดของภาพ กราฟิก และสมรรถนะโดยรวมทั้งหมดเพื่อให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากอินเทลมีประสบการณ์ยาวนานในการใช้ระบบปฏิบัติการทั้งวินโดวส์และแอนดรอยด์ จึงสามารถดึงจุดเด่นของทั้งสองระบบมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในราวต้นปี 2557 อินเทลเตรียมเปิดตัวเทคโนโลยี 64 บิต สำหรับแท็บเล็ต เพื่อให้ผู้จัดการด้านไอทีได้ประโยชน์มากขึ้น โดยอุปกรณ์ที่ใช้เอสโอซีเวอร์ชั่นใหม่จะมีแอพพลิเคชั่นและระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ นอกจากนี้ เทคโนโลยี Intel? Identity Protection Technology (IPT) ที่มี PKI ยังไม่จำเป็นต้องใช้รหัส VPN เมื่อมีการใช้งานร่วมกับระบบที่รองรับทั้ง IPT และ PKI อีกด้วย

 

เบย์เทรล โปรเซสเซอร์ เพิ่มพลังสมรรถนะให้กับอุปกรณ์ทูอินวันระดับเริ่มต้น โน้ตบุ๊ก เดสก์ท้อป และอุปกรณ์ออลอินวัน

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ?เบย์เทรล-เอ็ม? จะมีวางจำหน่ายร่วมสี่รุ่น ซึ่งได้แก่ อินเทล เพนเที่ยม เอ็น3510 โปรเซสเซอร์ และ อินเทล เซเลอรอน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ซึ่งได้แก่ เอ็น2910, เอ็น2810 และ เอ็น2805 โปรเซสเซอร์ซีรี่ส์ดังกล่าวจะเพิ่มสมรรถนะให้กับนวัตกรรมอุปกรณ์ทูอินวันและโน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัส ทำให้ผู้ใช้กลุ่มใหม่ได้รับประสบการณ์ในระดับราคาที่ย่อมเยาลง

 

ด้วยสถาปัตยกรรมระดับไมโครที่มีความยืดหยุ่นต่อการผลิตสินค้าและคุณภาพของกราฟิกที่ดียิ่งกว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นที่ใช้เบย์เทรล โดยทั้ง เพนเที่ยม เอ็น3000 โปรเซสเซอร์ และ เซเลอรอน เอ็น2000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ต่างให้สมรรถนะในการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่รวดเร็วยิ่งกว่าเดิมถึงสามเท่า และมีคุณสมบัติด้านกราฟิกที่ดีกว่าเดิมสูงสุดถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กราคาเยาที่ใช้เทคโนโลยีอินเทลรุ่นก่อนหน้านี้สามปี โดยดีไซน์ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน ตัวเครื่องบางน้อยกว่า 11 มม. และเบาเพียง 2.2 ปอนด์ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) อินเทลคาดว่าจะมีเครื่องวางจำหน่ายในตลาดด้วยราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องที่เป็นแบบฝาพับ 250 เหรียญสำหรับโน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัส และ 349 เหรียญสำหรับอุปกรณ์ทูอินวัน
 
สำหรับผลิตภัณฑ์ ?เบย์เทรล-ดี? จะมีวางจำหน่ายสามรุ่นด้วยกัน คือ อินเทล เพนเที่ยม เจ2850 อินเทล เซเลอรอน เจ1850 และ อินเทล เซเลอรอน เจ1750 ซึ่งทั้งหมดมาในรูปของแพ็คเกจที่มีขนาดเล็กที่สุดของอินเทลสำหรับโปรเซสเซอร์เดสก์ท้อป เพื่อใช้ผลิตเดกส์ท้อปขนาดเล็กและไม่ต้องมีพัดลม สำหรับตลาดผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ยังเป็นที่ต้องการของกลุ่มที่มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง เช่น จอแสดงผลดิจิตอลอัจฉริยะ (intelligent digital displays) โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ระบบประหยัดพลังงาน สมรรถนะการทำงานที่เร็วกว่าเดิมถึงสามเท่า ระบบกราฟิกที่ดีขึ้นสูงสุดถึงสิบเท่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่อินเทลเคยนำเสนอเมื่อสามปีที่แล้ว สำหรับเครื่องชนิดเต็มรูปแบบที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ดังกล่าว คาดว่าว่าจะมีวางจำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐ