ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

หลายคนคงคลายความสงสัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ x86 กันไปบ้างแล้ว คราวนี้ถึงเวลาที่เราจะมาดูรายละเอียดของชิปประมวลผลหรือซีพียูแต่ละตัวที่ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผมก็ได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่างอยู่พอสมควร โดยได้ทำการแบ่งชิปประมวลผลออกเป็น 2 กลุ่มตามโครงสร้างพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ใช้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล๊ยยยย.ย.ย.ย.ย!

ชิปประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM

 

Apple A7 และ A6

 

a7_a6ชิป A7 ถูกพัฒนามาจากชิป A6 ที่ใช้ใน iPhone 5 และ 5c โดยถูกนำมาใช้ทำเป็นชิปหลักให้กับ iPhone 5s ที่ซึ่งทั้งชิป A7 และ A6 ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Samsung เหมือนกัน และหากมองที่รูปลักษณ์ภายนอกของตัวเครื่องทั้ง iPhone 5 และ 5s ก็แทบจะไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้น 5c ที่ตัวเครื่องอาจดูแปลกไปเพราะทำจากพลาสติกแข็ง แต่หากมองลึกลงไปถึงตัวชิปที่นำมาใช้ระหว่าง A7 ใน iPhone 5s กับ A6 ใน iPhone 5 และ 5c จะเห็นได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยชิป A7 นั้น จะใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เล็กกว่า ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟกว่าและตัวชิปมีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ยังรองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ซึ่งช่วยให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่างจากชิป A6 ที่จะรองรับแค่เฉพาะ 32 บิต เท่านั้น อีกทั้งการประมวลผลกราฟิกบนชิป A7 ก็ยังดีกว่าชิป A6 อีกด้วย

 

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง iPhone 5s กับ 5 และ 5c นอกจากเรื่องของชิปประมวลผลหลักที่ใช้คือ A7 กับ A6 แล้ว ยังต่างกันในเรื่องของชิปร่วมอีกด้วย เนื่องจากใน iPhone 5s จะมีชิปร่วมคือ M7 motion co-processor คอยทำหน้าที่ประมวลผลการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านทางเซ็นเซอร์ต่างๆแบบเดียวกับชิปร่วม M8 ที่อยู่ใน iPhone 6 และ 6 Plus แต่สำหรับ iPhone 5 และ 5c จะมีแต่เฉพาะชิปหลักคือ A6 เท่านั้น จะไม่มีชิปร่วมแต่อย่างใด

 

5s5c

 

A7 และ A6 เป็นชิปแบบ System on a Chip (SoC) คือมีองค์ประกอบทุกอย่างที่จำเป็นอยู่บนชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยชิป A7 องค์ประกอบที่ว่านี้ประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) แบบ 2 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM (Cyclone) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.3 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิกที่ใช้ PowerVR G6430 แบบ 4 คอร์ และมีแรม LPDDR3 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-1600 ในแบบ Single-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 102 ตร.มม. โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

ส่วนชิป A6 จะประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) แบบ 2 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM (Swift) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7s ที่รองรับการประมวลผลแบบ 32 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.3 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิกที่ใช้ PowerVR SGX543 MP3 แบบ 3 คอร์ และมีแรม LPDDR2 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2-1066 ในแบบ Dual-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 96.71 ตร.มม. โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตขนาด 0.032 ไมครอน (32 nm)

 

Apple A8

 

iphone-6-a8-chipชิป A8 ถูกพัฒนามาจากชิป A7 ที่ใช้ใน iPhone 5s โดยถูกนำมาใช้ทำเป็นชิปหลักให้กับ iPhone 6 และ 6 Plus ที่เป็นสมาร์ทโฟนยอดฮิตรุ่นล่าสุดของค่าย Apple ซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท TSMC โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เล็กลงกว่าเดิม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเพราะใช้ไฟน้อยลงแล้ว ยังช่วยให้ตัวชิปมีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิมอีกถึง 13% เมื่อเทียบกับ A7 ทั้งๆที่บนชิป A8 มีจำนวนทรานซิสเตอร์อยู่มากกว่าถึง 2 เท่า นอกจากนี้ทาง Apple ยังให้ข้อมูลว่าประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลและชุดคำสั่งจะเร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 25% และในส่วนของกราฟิกก็จะเร็วขึ้นอีก 50% ด้วย

 

สำหรับ iPhone 6 และ 6 Plus นอกจากจะมีหัวใจคือ A8 เป็นชิปหลักแล้ว ยังมีชิปร่วมอีกตัวนั่นคือ M8 motion co-processor ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ประมวลผลการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านทางเซ็นเซอร์ต่างๆด้วย เช่น Touch ID (ตรวจสอบลายนิ้วมือผู้ใช้เพื่อยืนยันตัวบุคคล), Barometer (ตรวจวัดความดันบรรยากาศหรือสภาพความกดอากาศบริเวณรอบๆ), 3-axis gyroscope (ตรวจจับการเคลื่อนไหวและลักษณะการหมุนของตัวเครื่อง), Accelerometer (ตรวจจับความเคลื่อนไหวของตัวเครื่อง), Proximity sensor (ตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวผู้ใช้งานกับตัวเครื่อง), Ambient light sensor (ตรวจวัดสภาพแสงและปรับเพิ่ม/ลดความสว่างให้อัตโนมัติ) ฯลฯ

 

6_6plus

 

A8 ก็เป็นชิปแบบ SoC เช่นกัน โดยองค์ประกอบภายในประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) หรือหน่วยประมวลผลข้อมูลและชุดคำสั่ง แบบ 2 คอร์ ที่เป็นลิขสิทธิ์ (License) ของ ARM (บริษัท ARM ไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปให้กับทาง Apple โดยตรง แต่อาศัยการขายเป็น License ให้กับบริษัทผู้ผลิตชิปเอาไปผลิตขายแทน ซึ่งทำให้ ARM ไม่ต้องลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิปเอง) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งล่าสุดคือ ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.4 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของ GPU หรือหน่วยประมวลผลกราฟิกที่ใช้ PowerVR GX6650 แบบ 4 คอร์ และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรม (Memory Controller) ที่มีความกว้างบัสขนาด 64 บิต ซึ่งสนับสนุนแรม LPDDR3-1333 ในแบบ Single-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 89 ตร.มม. หรือขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการออกแบบเพื่อลดขนาดของลายวงจรและอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ต่างๆที่มีอยู่กว่า 2 พันล้านตัว ให้มีขนาดเล็กลงมากๆจนถึงระดับไมครอน ซึ่งในชิป A8 จะใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่ว่านี้ให้มีขนาดที่เล็กลงจนเหลือเพียง 0.020 ไมครอน (20 nm) เท่านั้น

 

Qualcomm Snapdragon 801

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปที่ถูกพัฒนามาจาก Snapdragon 800 โดยถูกเร่งความเร็วในการทำงานให้สูงขึ้นกว่าเดิม และเริ่มมีการนำเอาชิปหน่วยความจำ eMMC 5.0 ที่รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูล 400 MB/s มาใช้ โดย Snapdragon 801 นี้ ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Qualcomm เพื่อนำมาใช้เป็นชิปหลักให้กับ Galaxy S5 ที่เป็นสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Android จากค่าย Samsung คู่ปรับตลอดกาลของ Apple ด้วยคุณสมบัติของชิปประมวลผลที่ดูจะโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็วที่สูงกว่า, จำนวนคอร์ของซีพียูและความจุแรมที่มากกว่า, หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ทรงพลัง และหากรวมถึงคุณสมบัติในด้านอื่นด้วยแล้ว Galaxy S5 ก็ถือเป็นคู่ปรับที่น่ากลัวสำหรับ iPhone 5s อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

Galaxy-s5

 

Snapdragon เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของชิปแบบ SoC ที่ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์จำพวก สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พกพา (Smartbook) ที่ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Qualcomm โดย Snapdragon 801 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียู (CPU) แบบ 4 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM โดยใช้ชื่อว่า Krait 400 ซึ่งทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7 ที่รองรับการประมวลผลในแบบ 32 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 2.5 GHz มีชิป Qualcomm Hexagon V50 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็ว 800 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 2 MB นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิก (GPU) ที่ใช้ Qualcomm Adreno 330 ความเร็ว 578 MHz และแรม LPDDR3 ขนาด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-800 (12.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

Qualcomm Snapdragon 805

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปที่ถูกพัฒนามาจาก Snapdragon 801 ให้มีความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น ความจุแรมเพิ่มมากขึ้น รองรับการบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงในระดับ 4K ฯลฯ โดย Snapdragon 805 เป็นชิปหลักที่ถูกนำมาใช้กับ Samsung Galaxy Note 4 (โมเดล 910S ที่เป็น LTE Cat6) ที่เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดของตระกูล Note ที่มีปากกา S Pen สำหรับเขียนหน้าจอติดมาให้ด้วยจากค่าย Samsung ซึ่งถูกเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2014 (ชิงเปิดตัวตัดหน้า iPhone 6 และ 6 Plus ไปก่อนเพียง 6 วัน) และหลังจากนั้นไม่กี่วันก็เริ่มทยอยออกวางจำหน่ายไปในหลายประเทศทั่วโลก

 

note4

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียู (CPU) แบบ 4 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM โดยใช้ชื่อว่า Krait 450 ซึ่งทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 2.7 GHz มีชิป Qualcomm Hexagon V50 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็ว 600 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 2 MB นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิก (GPU) ที่ใช้ Qualcomm Adreno 420 ความเร็ว 600 MHz และแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-800 (12.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

Qualcomm Snapdragon 808

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปตัวแรกของ Qualcomm ที่นอกจากจะมี 6 คอร์ (2+4) แล้ว ยังได้มีการปรับมาใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM big.LITTLE Processing เป็นครั้งแรก ที่ซึ่งเป็นการนำเอาซีพียู 2 ตัวมาช่วยกันทำงานโดยตัวนึงจะทำหน้าที่เป็นตัวหลัก (Big Cores) ในการประมวลผลสำหรับงานหนักๆที่ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง ส่วนอีกตัวจะทำหน้าที่เป็นตัวรอง (LITTLE Cores) ในการประมวลผลสำหรับงานทั่วๆไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังในการประมวลผลสูง โดยสถาปัตยกรรมซีพียูดังกล่าวนี้จะใช้เทคโนโลยี Heterogeneous Multi-Processing (HMP) มาช่วยควบคุมการกระจายงานให้กับทุกๆคอร์ของซีพียูทั้ง 2 ตัวอย่างเหมาะสมโดยอัตโนมัติ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประมวลผลแล้ว จุดเด่นที่สำคัญก็คือ ช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน Snapdragon 808 นี้ ถูกนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนของ LG รุ่น G4

 

LG-G4-Rumors2

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 2 คอร์ ความเร็ว 1.82 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.44 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 6 คอร์ (2+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีชิป Qualcomm Hexagon V56 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็วสูงสุด 800 MHz มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Adreno 418 ความเร็ว 600 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมแบบ 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-933 (14.9 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.020 ไมครอน (20 nm) เท่านั้น

 

Qualcomm Snapdragon 810

 

qualcomm-snapdragon-800_02Snapdragon 810 เป็นชิปรุ่นถัดมาของ Qualcomm ที่ยังคงใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมซีพียูแบบ ARM big.LITTLE Processing อยู่ แต่ซีพียูตัวหลักถูกปรับมาใช้เป็น 4 คอร์ ทำให้มีจำนวนคอร์ทั้งสิ้น 8 คอร์ (4+4) และถือเป็นซีพียูรุ่นแรกที่นำเอาหน่วยความจำล่าสุดอย่าง LPDDR4 มาใช้ ซึ่งเราจะพบกับซีพียูรุ่นนี้ได้ในสมาร์ทโฟน LG G Flex, HTC One M9, Sony Xperia Z4 ฯลฯ

 

m9z4

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 2.0 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.6 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีชิป Qualcomm Hexagon V56 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็วสูงสุด 800 MHz มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Adreno 430 ความเร็ว 650 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR4 ขนาด 2 และ 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมแบบ 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR4-1600 (25.6 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตคงเดิมคือ 0.020 ไมครอน (20 nm)

 

Exynos 7 Octa 7410

 

Exynos-7-14-nm-finfetหรือชื่อเดิมคือ Exynos 5 Octa 5433 เป็นชิปหลักอีกตัวนอกเหนือไปจาก Snapdragon 805 ที่ถูกนำมาใช้กับ Samsung Galaxy Note 4 แต่จะมีอยู่แต่เฉพาะในโมเดล 910C ที่เป็น LTE Cat4 150/50 Mbps เท่านั้น รวมไปถึง Galaxy Note Edge (LTE) ด้วย โดย Exynos 7 Octa 7410 เป็นชิปที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาโดยบริษัท Samsung โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น License ของ ARM ซึ่งมาพร้อมการทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing ที่เป็นการนำเอาซีพียู 2 ตัวมาช่วยกันทำงาน ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้

 

note-edge1

 

Exynos 7 Octa 7410 หรือ Exynos 5 Octa 5433 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.9 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.3 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Mali-T760 MP6 ความเร็ว 700 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมด้วยส่วนควบคุมหน่วยความจำแบบ 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-825 (13.2 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต 0.020 ไมครอน หรือ 20 nm

 

Exynos 7 Octa 7420

 

Exynos-7-14-nm-finfetเป็นชิปที่ถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดของ Samsung อย่าง Galaxy S6 และ S6 Edge ซึ่งยังคงใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็น License ของ ARM ที่มาพร้อมการทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing แต่ถือเป็นชิปรุ่นแรกที่ลดขนาดของกระบวนการผลิตให้เล็กลงเหลือเพียง 0.014 ไมครอน หรือ 14 nm เท่านั้น แถมยังนำเอาหน่วยความจำล่าสุดอย่าง LPDDR4 มาใช้เป็นครั้งแรกด้วย

 

us-galaxy-s6-s6-edge

 

Exynos 7 Octa 7420 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 2.1 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.5 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Mali-T760 MP8 ความเร็ว 772 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR4 ขนาด 3 GB พร้อมด้วยส่วนควบคุมหน่วยความจำแบบ 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR4-1555 (24.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.014 ไมครอน หรือ 14 nm

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นชิปประมวลผลหรือซีพียูที่มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมในแบบ ARM ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายๆตัวนั้นได้ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ทีนี้เราหันมามองทางฝั่งของชิปประมวลผลหรือซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 กันบ้าง ซึ่งก็แน่นอนว่าซีพียูที่ใช้ก็ต้องมาจากแบรนด์ Intel นั่นเอง แต่..อ๊ะๆ เพื่อป้องกันความสับสน ผมขอยกเอาเนื้อหาไปไว้เป็นบทความในครั้งถัดไปแล้วกันนะครับ ส่วนในครั้งนี้ผมขอพักไว้เท่านี้ก่อน เข้าหน้าฝนแล้วแต่น้องฝนมามั่งไม่มามั่งเล่นเอาจนแล้งจัดไปหลายพื้นที่ ยังไงช่วงนี้อากาศแปรปรวนขอให้ผู้อ่านทุกท่านระมัดระวังรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะคร๊าบบ.บ.บ.บ!

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

LG G Flex พร้อมปล่อยพรีออเดอร์ในอเมริกา 24 มกราคมนี้

เป็นที่ยืนยันแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา AT&T ประกาศว่าจะเริ่มเปิดพรีออเดอร์ สำหรับ LG G Flex สมาร์ทโฟนที่มีรูปทรงโค้ง ในวันที่ 24 มกราคมนี้ ที่แรกคือ Sprint stores ในสหรัฐอเมริกา ราคาแบบติดสัญญา 2 ปี อยู่ที่ $299.99 หรือประมาณ 10,500 บาท หรือจะผ่อนจ่ายรายเดือน 12-18 เดือน ก็ได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นทาง AT&T ยังไม่ได้บอกว่า จะได้รับเครื่องคือ LG G Flex ตัวนี้ได้เมื่อไหร่
 

Lowers-LG_G_flex_1_610x436

 

ส่วนวันวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ อย่างที่ AT&T ได้ประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ วันที่ 31 มกราคม 2014  รวมทั้ง T-Mobile ก็จะวางจำหน่ายในวันนี้เช่นเดียวกัน

 

ด้านฟีเจอร์  LG G Flex จะใช้หน้าจอกว้าง 6 นิ้ว และเป็นหน้าจอ HD ซึ่งมีตัดแสงสะท้อนในตัวด้วย ส่วนด้านหลังก็ไม่ต้องกลัวถลอกหรือเป็นรอย เพราะ LG G Flex ได้ออกแบบด้านหลังมาเพื่อกันรอยขีดข่วน หรือถ้ามีรอยขีดข่วน มันก็จะหายไปเอง ว้าวววว…
 

มาดูสเปคคร่าวๆ ของ LG G Flex กัน

•ระบบปฏิบัติการ Andriod 4.2.2  Jelly Bean

•CPU 2.26GHz quad-core Snapdragon 800

•RAM 2 GB

•ความจุ ( storage ) 32 GB

•แบตเตอรี่ 3,500 mAh

(อ่านสเปคเพิ่มเติมของ LG G Flex)

 
Source:  Cnet

[บทความวิเคราะห์] ทำไม Galaxy Note 3 เพิ่งมาปล่อย รุ่นรองรับ 4G เอาป่านนี้?แล้วทำไมต้องมี 2 โมเดล?

เมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2014 Samsung ได้ออกวางจำหน่าย Note 3 รุ่นรองรับ 4G LTE ให้สาวกชาว Note ได้ตื่นเต้นกับการที่จะได้ใช้ 4G กับเค้าซะที ซึ่งการที่ Samsung ออกวางจำหน่าย Note 3 รุ่น LTE นั้นเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เพราะไม่มีแหล่งข่าวไหนจะออกมาเปิดเผยว่า Note 3 LTE ที่ใช้ชื่อโมเดลว่า N9005 จะมาวางขายในไทย

ซึ่งรุ่นที่วางขายในไทยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2013 คือรุ่น N9000 ซึ่งรองรับแค่ 3G เท่านั้น

ส่วน N9005 นั้นได้มีการวางจำหน่ายไปก่อนหน้านั้นแล้วในหลายๆประเทศ ซึ่งในไทยถ้าอยากได้ก็ต้องไป MBK

 

นอกจาก N9005 จะรองรับ 4G LTE แล้ว ยังมีซีพียูตัวใหม่ ซึ่งแรงกว่า N9000 ที่ใช้ Exynos  5 ส่วน N9005 ใช้ Snapdragon 800 ก็เจ้าตัวนี้แหละที่สาวกคนไทยตื่นเต้นอยากจะใช้ เพราะมันเร็วกว่า และเจ้า Snapdragon 800 นี่แหละ ที่ทำให้เกิดปมปัญหาให้กับสาวก Samsung ตระกูล Note ขึ้นมา แถมยังมีประเด็นสงครามสมาร์ทโฟนกับคู่แข่งรายใหญ่อย่าง Apple  ขึ้นมาอีก

 

samsung-galaxy-note-3

 

 

ประเด็นที่เป็นปมสงครามสมาร์ทโฟน คือ ในคืนวันที่ 10 กันยายน 2013 บริษัทคู่แข่งรายใหญ่อย่าง Apple ได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่และซอฟแวร์ตัวใหม่ แต่ประเด็นที่เราจะพูดถึงคือ การมาของ iPhone 5s ซึ่งมาพร้อมชิปประมวลผลระดับความเร็ว 64-bit ซึ่งก็คือ ชิป A7 ถ้าดูจากช่วงเวลาที่ Note 3 เปิดตัวคือวันที่  4 กันยายน 2013 ถือว่า iPhone 5s เปิดทีหลัง แต่จริงๆก็ไล่เลี่ยกันถ้าดูในแง่ช่วงเวลาที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต

 

 

iphone2013-01481-500x332

 

 

หลังจากนั้นก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากแหล่งข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศที่โจมตี Samsung กรณี Snapdragon800

 

ประเด็นที่เกิดการวิจารณ์คือ บรรดาเวบไซต์ของเหล่าสาวกแอปเปิ้ลได้กล่าวในเชิงเย้ย Samsung ว่า อุตส่าห์ปล่อยหมัดเด็ด ซึ่งก็คือ Snapdragon800 ความเร็ว 32-bit แต่สุดท้ายก็หงายเมื่อเจอ ชิป A7 64-bit ของ iPhone 5s เข้า

 

แต่ทาง Samsung ก็ไม่ได้ยอม ถึงกับออกมาโต้ว่าความเร็วระดับ 64-bit นั้น เป็นแค่แผนทางการตลาดของ Apple  เท่านั้น ไม่มีทางที่ใครจะพัฒนามาได้ขนาดนี้แน่นอน

(อันนี้ดูไม่น่าจะอยู่ในประเด็นที่จะพูดถึง แต่ดูจะเป็นประเด็นโจมตี Snapdragon 800 มากกว่า)

 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในทวิตเตอร์  โดยเหล่าบรรดาบล็อกเกอร์ที่เป็นสาวกของแอปเปิ้ล ( รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย ) ได้ตั้งแง่สงสัยเชิงถากถางขึ้นมาว่า ” ทำไม Note 3 ไม่ขายรุ่น LTE ตั้งแต่แรก ”  และก็น่าจะใช้ CPU ตัวเดียวไปเลย คือ Snapdragon 800 แล้วทำไมต้องแยกโมเดลให้ยุ่งยาก?

ประเด็นนี้น่าสนใจและน่าเอามาคิด ว่า Samsung จะแยกโมเดล แยกสเปคทำไม?

ซึ่งก็จริงอยู่ว่า ตอนแรก N9005 ไม่ได้มีวี่แววว่าจะมาขายในไทยเลย แล้วอยู่ๆ ก็ออกมาประกาศว่าจะมาขาย ซึ่งก็สร้างความลำบากใจให้คนที่ซื้อ Note 3 N9000 ไปแล้ว

(อ่านประเด็นนี้เพิ่มเติมในเวบไซต์ ผู้จัดการ )

 

 

note3lte

 

จากประเด็นทั้งหมดที่เกิดขึ้น ขอวิเคราะห์ถึงสาเหตุ  2 สาเหตุ

 

 •ทำไมNote 3 เพิ่งจะมาวางขาย รุ่น LTE เอาป่านนี้ ?

•และทำไม ต้องแยกเป็น 2 โมเดล ?

 

 ทำไมNote 3 เพิ่งจะมาวางขาย รุ่น LTE เอาป่านนี้ ?

จริงอยู่ที่ Samsung อาจจะพลาดมองข้ามความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยที่ต้องการจะใช้ 4G และสเปคที่แรง และเร็ว แต่ถ้ามองในแง่เรื่องความครอบคลุมของ 4G ในเมืองไทยซึ่งมีแค่เจ้าเดียว คือ Truemove-H แต่ก็ยังกระจายสัญญานได้ไม่ทั่วถึง และใช้ได้เพียงบางจุดเท่านั้น เช่น สยาม สีลม สาทร  ในต่างจังหวัดก็ครอบคลุม เฉพาะตัวเมืองพัทยา หัวหิน และเชียงใหม่ เท่านั้น

 

ซึ่งทาง Samsung อาจจะมองว่า ส่วนที่ครอบคลุม 4G ในไทยยังน้อยไป และส่วนใหญ่จะใช้ได้แค่ 3G  แต่สาเหตุที่อยู่ๆ เพิ่งมาวางจำหน่าย รุ่น N9005 เอาตอนนี้อาจจะเป็นเพราะว่า Samsung อาจจะเพิ่งจะเล็งเห็นว่า ในจำนวนสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ของTruemoveH ยังไม่มีสมาร์ทโฟนของ Samsung ที่รองรับซักตัว

 

 

pic1
ภาพจากเว็บไซต์ Truemove-H ในวันที่เปิดตัว 4G LTE เป็นครั้งแรกเมื่อกลางปี 2013

 

จะเห็นได้ว่า ไม่มีสมาร์ทโฟนของ Samsung เลยที่รองรับ 4G ของ Trumove-H ทั้งๆที่ Samsung ได้มีสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G มาตั้งแต่ Galaxy S3 (I9300)  แล้ว แต่เนื่องจากตอนนั้น ในไทยยังไม่มีเครือข่ายไหนที่รองรับ 4G ( เอา 3G ให้รอดก่อนเถอะ) จึงไม่คิดจะเอาออกมาวางจำหน่ายในไทย

และทำไม ต้องแยกเป็น 2 โมเดล ?

ถ้าเราจะมองแบบเปรียบเทียบกับคู่แข่งซึ่งก็คือ Apple สังเกตว่า Apple จะไม่มี iPhone 5s รุ่นรองรับแค่ 3G กับรุ่นรองรับ LTE  แต่จะออกมาแค่รุ่นเดียว ซึ่งรองรับ LTE ตั้งแต่แรก และใช้ CPU (หน่วยประมวลผล) ตัวเดียวซึ่งก็คือ ชิป A7 และก็วางขายให้มันจบภายในรุ่นเดียว แต่ถ้ามองในแง่โมเดล จริงๆ iPhone ก็มีหลายโมเดล ซึ่งที่ต้องมีหลายโมเดลเพราะแต่ละโมเดลรองรับคลื่นความถี่ที่ต่างกัน เนื่องจากคลื่นความถี่ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ไหนๆก็พูดเรื่องนี้แล้วเรามาดูตัวอย่างโมเดลของ iPhone กันสักสองสามรุ่นดีกว่า

 

iPhone 4

iPhone4

 

 

iPhone 4s

iPhone4s

 

 

iPhone 5

iPhone5

 

 

iPhone 5c

iPhone5c

 

 

iPhone 5s

iPhone5s

 

 

จะเห็นว่า iPhone แต่ละรุ่นมีหลายโมเดล (ในภาพเขียนว่าหมายเลยรุ่น) ซึ่งเป็นเรื่องของการรองรับคลื่นความถี่ของแต่ละโมเดลมากกว่า

แต่เรื่องโมเดลของ iPhone   ไม่ได้เป็นปัญหายุ่งยากหรือสร้างความลำบากใจอะไรให้กับผู้ใช้งาน เพราะถึง iPhone จะมีหลายโมเดล แต่ทางด้านสเปค iPhone มีสเปคเดียว แตกต่างแค่ความจุของตัวเครื่อง (Storage) ซึ่งแยกเป็น 8GB, 16GB, 32GB, 64Gb

ไม่เหมือน Note 3 ที่แต่ละโมเดลมีสเปคที่ต่างกัน  ลองมาดูความต่างของสเปคของ N9000 กับ N9005 กัน

1389066026-217-o

(ภาพจาก ThaiMobile Center )

แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมที่ Note 3ต้องมี 2 โมเดลที่ดูจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค นั่นก็คือเรื่องราคา เพราะ Note 3 ทั้ง  2 รุ่นมีราคาที่แตกต่างกัน ซึ่ง Samsung อาจจะมีนโยบายทางการตลาดให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในกรณีที่แต่ละบุคคลมีอำนาจในการซื้อต่างกัน

มาดูราคาของ Note 3 ทั้ง 2 รุ่นกัน

 

• Note 3 N9000 ราคาเปิดตัวอยู่ที่ 23,500 บาท

Note 3 N9005 ราคาเปิดตัวอยู่ที่ 24,900 บาท

 

เราจะเห็นได้ว่า ถึง Note 3 จะมี 2 โมเดล แต่ก็ดูแฟร์ๆ ในด้านความต่างของสเปคและราคา  ใครที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ 4G และไม่ได้ต้องการสเปคที่แรงอะไรมากมาย ก็จ่ายในราคาที่ถูกกว่า ส่วนใครที่ต้องการ 4G และสเปคแรงๆ ก็จ่ายมากกว่า ซึ่งถ้ามองแง่นี้สบายใจกว่ามั้ย?

 

ไม่ว่ากรณีของ Note3 LTE ที่วางขายในไทยนี้จะเกิดเป็นประเด็นขึ้นมายังไงก็ตาม แต่สุดท้ายอย่างน้อย Samsung ก็ได้รับบทเรียนนี้ไป  และค่อนข้างมั่นใจว่า งานหน้า ถ้า Samsung จะปล่อยอะไรออกมาแบบนี้อีก ก็คงจะมีการบอกล่วงหน้ากันก่อน และคงจะไม่ซ้ำรอยเดิมอย่างกรณี Note 3 นี้