Infographic เปรียบเทียบ Galaxy Tab S กับ Apple iPad Air, iPad mini

 

ใกล้จะวางจำหน่ายในเมืองไทยแล้วสำหรับ Galaxy Tab S แท็บเล็ตตระกูลสลิม หลังจากเปิดตัวในอเมริกาไปเมื่อกลางเดือน ก.ค. กับขนาดหน้าจอมาตรฐานใหม่ 8.4 นิ้ว กับ 10.5 ที่ออกแบบให้เหมาะกับการพกพาได้สะดวก แต่ยังคงได้รับอรรถรสจากหน้าจอที่คมชัดในระดับ Super AMOLED ความละเอียด WQXGA 2560 x 1600 ด้วยสีสัน สวยสด งดงาม ที่สำคัญถ้าอยากรู้ว่ามันแตกต่างจาก iPad Air และ iPad Mini with Retina Display ยังไง เรามีภาพอินโฟกราฟิกมาให้ดูกัน

 

info-galaxy-tab-s

 

เมื่อดูการเปรียบเทียบจากสเปกแล้ว แน่นอนล่ะครับว่า iPad Air กับ iPad mini with Retina Display ยอมต่ำกว่าเป็นแน่ เนื่องด้วยเพราะออกมาก่อน ซึ่งแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่ออกรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องเอาชนะด้วยสเปกทางฮาร์ดแวร์เป็นสิ่งแรก แต่สิ่งที่น่าพิจารณาอีกอย่างก็คือเรื่องของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีสไตล์การใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบแบบไหน ถ้ารักความอิสระ เล่นได้ทุกอย่างแบบไร้ขีดจำกัด แต่แอพปลอมเยอะต้องระวัง ก็เลือกแอนดรอยด์ หากชอบความง่ายในการใช้งาน ระบบมีความเสถียรภาพสูง แต่ทุกอย่างถูกจำกัดด้วยอารยธรรม Apple ก็เลือก iOS ไป…

 

สำหรับกำหนดวางจำหน่าย Galaxy Tab S ทั้ง 2 รุ่น จะวางจำหน่ายเร็วๆ นี้ โดยทาง Jaymart ได้เผยราคาออกมาแล้ว

Galaxy Tab S 8.4 ราคา 16,900 บ.

Galaxy Tab S 10.5 ราคา 19,900 บ.

galaxy-tab-s-prize

 

Infographic ครบรอบ 10 ปี Facebook

 

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 10 ขวบ ของ Facebook เว็บไซต์สังคมออนไลน์ ที่มีต้นกำเนิดเล็กๆ จากภายในห้องของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ในหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาฮาร์วาร์ด แทบไม่น่าเชื่อว่าจนถึงวันนี้ Facebook กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีและพัฒนาลงในมือถือที่มีผู้ใช้งานประจำจากทั่วโลกมากกว่า 1.2 พันล้านคนต่อเดือน ทั้งนี้ Facebook ได้มอบของขวัญด้วยการทำคลิปย้อนความทรงจำของแต่ละคนในฟีเจอร์ Look back ที่ทุกคนได้แชร์ไปบนไทม์ไลน์กันมากมายแล้ว ดังนั้น เรามาดูไทม์ไลน์ครบรอบ 10 ปีของ Facebook พร้ิอมสถิติที่น่าสนใจ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง

 

Facebook_10th_Timeline_TH

 

ทั้งนี้ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ยังได้ฝากคำกล่าวไว้ว่า นับเป็นการเดินทางอันน่าเหลือเชื่อตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน และผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางนี้  การได้เห็นผู้คนใช้ Facebook สร้างเครือข่ายในสังคมจริง และใช้ Facebook ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ เป็นสิ่งที่ผมประทับใจมาก และในทศวรรษถัดไปนี้ เรายังคงมีโอกาสและแสดงความรับผิดชอบที่จะสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทุกคนไว้ด้วยกัน และจะยังพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานอย่างสุดความสามารถ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Facebook กล่าว

 
หน้าโปรไฟล์ Facebook ในปี 2004 ใครทันใช้บ้างครับ
Facebook profile 2004_for media

 

 

Source : Email PR Facebook

 

 

[infographic] วิวัฒนาการของยุคเครือข่ายมือถือ 1G – 2G – 3G – 4G

Evolution of the G

หลังจากที่คนไทยเพิ่งจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี 3G กันอย่างเป็นทางการ จากผู้ให้บริการเครือข่าย ทั้ง 3 เจ้าใหญ่ๆ AIS, dtac และ truemoveH ซึ่งเมืองไทยเองถือว่ายังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจาก 2G ไปยัง 3G และบางเครือข่ายก็เริ่มมีบริการ 4G ให้ทดลองใช้เฉพาะบางพื้นที่แล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าไอเจ้า 3G หรือ 4G ที่หลายคนพูดถึงกันมันดียังไง แล้วแตกต่างกันอย่างไร ผมมีภาพ infographic อธิบายง่ายๆ จาก COMMSCOPE มาให้ดูกัน โดยขอสรุปตัวเลขที่น่าสนใจออกมาดังนี้

ความเร็วของแต่ละยุค หน่วยเป็น กิโลบิตต่อวินาที (kbps)
1G : 2.4 kpps สื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น ยังเป็นระบบอะนาลอก
2G : 64 kbps สื่อสารด้วยเสียงได้ชัดเจนขึ้น ให้สัญญาณครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเป็นยุคแรกของการใช้มาตรฐานดิจิตอลในระบบ GSM และ CDMA
3G : 2000 kbps สื่อสารได้ทั้งเสียงและข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, มัลติมีเดีย และอินเทอร์เน็ต ถือเป็นยุคแรกของการเป็นโมบายบรอดแบนด์
4G : 100,000 kbps สื่อสารกันด้วยข้อมูลเป็นหลักหรือว่าง่ายๆ คือเชื่อมต่อินเทอร์เน็ตแทนการสื่อสารด้วยเสียง ใช้โปรโตคอลมาตรฐานการสื่อสารแบบ LTE และเป็นโมบายบรอดแบนด์อย่างแท้จริง

เปรียบเทียบตามระดับความสูงแล้วจะเท่ากับ
1G = ความสูงของตั๊กแตน
2G = ความสูงของเจ้าสุนัขพันธุ์ บอร์เดอร์ คอลลี่
3G = ความสูงของตึก 5 ชั้น
4G = ความสูงของตึก Burj Khalifa ในดูไบ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก

ในปีนี้ (2013) เราจะได้เห็นการใช้ข้อมูลสื่อสารกันบนเครือข่ายมือถือมากถึง 1 Exabyte ต่อเดือน หรือเท่ากับ 1 พันล้านกิกะไบต์ (1,000,000,000 GB) ซึ่งเทียบเท่ากับการดาวน์โหลดหนังเรื่อง Star Wars ทุกตอน ได้ถึง 130 ล้านครั้ง

คาดว่าในปี 2016 จะมีการรับส่งข้อมูลกันมากถึง 10.8 Exabyte ต่อเดือน เลยทีเดียว

อะไรที่เป็นแรงขับของการเิติบโตในการใช้ข้อมูล
แน่นอนว่าคำตอบคือ Smartphone ที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในปี 2013 มีผู้ใช้สมาร์ทโฟน 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนทั่วไป
คาดว่าในปี 2017 จะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเป็น 1 ใน 2 เมื่อเทียบกับผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนทั่วไป
และมีเปอร์เซ็นต์การดูเว็บผ่านสมาร์ทโฟนสูงขึ้นถึง 8.3% ในปี 2013

แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีความสุขกับการใช้งาน
19% : ประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
16% : ความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
10% : ติดต่อสื่อสารได้ระหว่างที่กำลังเดินทาง
10% : ข้อเสนอในส่วนของค่าทำเนียมหรือค่าบริการต่างๆ
10% : การบริการลูกค้า

 

สำหรับในเมืองไทยข้อมูลนี้อาจจะไม่สอดคล้องกันเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลในต่างประเทศเท่านั้น แต่ก็สามารถมองเห็นแนวโน้มและความเป็นมาเป็นไปของระบบเครือข่ายมือถือที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และเชื่อว่าประเทศไทยก็มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากไม่ติดเรื่องปัญหาการเมืองภายในเสียก่อนนะครับ อิอิ…

1G
Source : CommScope via Phonearena