วิธีตั้งค่าจำกัดการซื้อแอพบน Android Google Play ป้องกันเด็กซื้อเกิน

 
protect-purchase-app-1

 
จากที่เป็นข่าวการดาวน์โหลดของในเกมคุ๊กกี้รันจนทำให้มีค่าบริการสูงเกินกำหนด ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นเรามาดูวิธีการป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้กันดีกว่า โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ค่อนข้างจะดาวน์โหลดแอพหรือไอเทมต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย

 

ปกติแล้วหากเราทำการผูกบัญชีบัตรเครดิต หรือการหักเงินจากค่าบริการมือถืออย่างบริการ AIS Google Play ไว้กับบัญชี Google Play เวลาโหลดแอพแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นแอพเสียเงินหรือแอพฟรี ระบบจะถูกตั้งค่ามาตรฐานมาให้เป็น ไม่ต้องป้อนรหัสผ่านเวลาดาวน์โหลด นั่นจึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้หลายคนอาจจะพลาด โดยเฉพาะการปล่อยให้ลูกหลานเล่นเกมตามลำพัง ซึ่งอาจจะไปซื้อไทเทมหรือโหลดแอพที่ต้องเสียเงินได้โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ควรเปิดการป้อนรหัสผ่านก่อนซื้อแอพเพื่อป้องกันเอาไว้

 

อันดับแรกให้เข้าสู่แอพ Play Store แล้วแตะที่เมนูมุมบนซ้าย จากนั้นแตะเข้าสู่การตั้งค่า แล้วเข้าไปที่เมนู ต้องป้อนรหัสผ่านเพื่อสั่งซื้อ
protect-purchase-app-01

 

จะมีตัวเลือกขึ้นมา แนะนำให้เลือกที่ สำหรับการสั่งซื้อทั้งหมดผ่านทาง Google Play บนอุปกรณ์นี้ หรือจะเลือกที่ ทุก 30 นาที ก็ได้หากเราต้องโหลดแอพเองบ่อยๆ จากนั้นก็ป้อนรหัสผ่านของแอคเคาท์ Google Play ที่ใช้งานอยู่ แล้วแตะ ตกลง

protect-purchase-app-02

 

สังเกตว่าตัวเลือกการป้อนรหัสผ่านเพื่อสั่งซื้อ ต้องเปลี่ยนเป็นเงื่อนไขเดียวกับที่เราตั้งไว้ ห้ามเป็นตัวเลือก ไม่มี เหมือนตอนต้น

protect-purchase-app-03

 

คราวนี้เวลาใครจะโหลดแอพที่ต้องเสียตังค์ ก็จะต้องป้อนรหัสผ่านทุกครั้งก่อนดาวน์โหลด ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดอย่าให้ใคร โดยเฉพาะลูกของคุณทราบรหัสผ่านเป็นอันขาด ไม่ฉะนั้น ต่อให้ป้องกันยังไงก็ช่วยไม่ได้แล้วละครับ ก้มหน้าจ่ายตังค์ค่าบริการกันไปตามระเบียบ

protect-purchase-app-04

 

ผมลองซื้อเพชรในเกมคุ๊กกี้รัน เมื่อจะสั่งซื้อก็ต้องป้อนรหัสผ่านก่อนเช่นเดียวกัน งานนี้กันไว้ดีกว่าแก้นะครับ โดยเฉพะาผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างเด็กๆ ซึ่งเขาอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นเราในฐานะผู้ปกครองก็ควรป้องกันเอาไว้แต่แรก

protect-purchase-app-05

 

ส่วนใครที่ใช้ระบบการชำระเงินซื้อแอพ ผ่านค่าบริการรายเดือนหรือเติมเงินจากผู้ให้บริการรายต่างๆ เช่น AIS ฯลฯ ก็สามารถนำวิธีนี้ไปป้องกันได้เช่นเดียวกันครับ แต่หากใครไม่ชัวร์ก็ติดต่อยกเลิกบริการดังกล่าวไปเลยก็ได้ครับ น่าจะปลอดภัยที่สุด

 

สำหรับการป้องกันบน iPhone iPad คลิกอ่านในบทความ [TIPS] วิธีป้องกันเด็กกดซื้อแอพเล่น ในไอโฟน ไอแพด

 

เกม Plastic Surgery ศัลยกรรมบาร์บี้ถูกลบออกทุกสโตร์ เตือนผู้ปกครองสแกนแอพก่อนโหลด

Wassuppp+ เกมสำหรับเด็กใช่ว่าจะคิขุอาโนเนะไปซะทั้งหมด ล่าสุด Apple และ Google ยอมลบแอพ Plastic Surgery เกมทำศัลยกรรมพลาสติกตุ๊กตาบาร์บี้ สำหรับเด็กอายุ 9 ขวบขึ้นไป หลังถูกวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับคำอธิบายแอพที่ใช้คำค่อนข้างรุนแรง เช่น “ดูน่าเกลียด” “โชคร้าย” ซึ่งทำให้เกิดค่านิยมผิดๆ เรื่องรูปร่างหน้าตากันตั้งแต่เด็ก (เด็กๆเชื่อป้า..อย่าได้แคร์!) จนกระทั่งเรื่องนี้ถึงหูบริษัท Mattel เจ้าของแบรนด์บาร์บี้ ต้องออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับแอพดังกล่าวว่าไม่ได้รับการตรวจสอบตามความเหมาะสมจากบริษัท และไม่ได้ยินยอมให้ใช้ชื่อตุ๊กตาบาร์บี้แต่อย่างใด

 

1-17-2014 8-32-46 PM
ในโลกโซเชียลต่างทวีตถึงความไม่เหมาะสมของแอพไปยัง Apple และ Google รูปภาพจาก appadvice

 

ลักษณะเกมคือต้องการให้ตุ๊กตาดูผอมและสวยขึ้น เริ่มจากการดูดไขมัน ฉีดซิลิโคน ผ่าตัดหน้าท้อง ฯลฯ เห็นแล้วก็อยากทำ เอ๊ย!! เสียวแทนคนทำจริงๆค่ะ

 

plastic1
เด็ก 9 ขวบอาจลอกเลียนแบบได้เลยสินะ

 

before-and-after
รูปภาพที่อาจทำให้ค่านิยมของเด็กเปลี่ยนไป ผู้ปกครองควรลองเล่นทุกเกมอย่าไว้ใจแอพสำหรับเด็กง่ายๆ

 

ซึ่ง ณ เวลานี้ทั้ง App Store และ Google Play ได้ลบแอพนี้ออกไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นกรณีนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแอพอื่นๆที่กำลังพัฒนาด้านความคิดและพฤติกรรมของเด็กๆให้ระวังเนื้อหามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ต้องสแกนก่อนโหลดถึงแม้จะเป็นแอพสำหรับเด็กก็ตาม

 

1-17-2014 8-38-54 PM

 

ขอบคุณข้อมูลจาก cultofmac