CTH, PSI, InfoSat, AB TV ขอความเป็นธรรม คสช. พร้อมแจงข้อเท็จจริงกรณีถูกคัดค้านแจกคูปองทีวีดีจิตอล

CTH-digital-tv1

ซีทีเอช – พีเอสไอ – อินโฟแซท – เอบีทีวี 4 ธุรกิจแพลตฟอร์มของประเทศไทยวอนขอความเป็นธรรม พร้อมแจง 4 ข้อเท็จจริงที่ซีทีเอชต้องแบกรับต่อ คสช. และ กสทช. เพื่อให้ทบทวนกรณีการแจกคูปองกล่องทีวีดิจิทัลอย่างเป็นธรรม เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง และทบทวนการแจกกล่องรับสัญญาณระบบความคมชัดมาตรฐาน (SD) เป็นระบบความคมชัดสูง (HD) เพื่อรองรับการรับชมทีวีดิจิทัล

 
สืบเนื่องจากการที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าไปตรวจสอบ 4 โครงการใหญ่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และได้มีคำสั่งให้ชะลอโครงการทั้งสี่ดังกล่าว โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการจัดสรรคูปองให้กับประชาชนเพื่อรับชมทีวีดิจิทัลมูลค่า 1,000 บาท/ ครัวเรือน คิดเป็นเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท และก่อนที่ คสช. จะมีคำสั่งตรวจสอบดังกล่าว ได้มี 14 ผู้ประกอบการฟรีทีวีได้ยื่นข้อคัดค้านการแจกคูปองผ่านทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ต่อ กสทช. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยอ้างว่า เงินกองทุนที่นำมาตั้งเพื่อจัดสรรคูปองดังกล่าวเป็นเงินที่ได้มาจากการประมูลใบอนุญาตฟรีทีวี 24 ช่อง

 
ทั้งนี้ นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายวรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด, นาย นิรันดร์ ตั้งพิรุฬห์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโฟแซท จำกัด และ นายณัฐ รองสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย บรอดคาสติ้ง เทเลวิชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เปย์ทีวี) ทั้งระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม รวมทั้งถือใบอนุญาตโครงข่ายจาก กสทช. ได้ร่วมกันชี้แจงถึง ข้อเท็จจริง ซึ่งโต้แย้งกับข้อคัดค้านของกลุ่ม 14 ฟรีทีวีดังกล่าวถึง คสช. ผ่าน พล.ท. อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ กสทช.

dtac & CTH 1
นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ. ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (ซ้ายสุด) : Credit ภาพ จาก PR dtac

 

นายเชิดศักดิ์ กล่าวถึงข้อเท็จจิรงเพื่อโต้แย้งข้อคัดค้านกลุ่ม 14 ฟรีทีวีว่า “การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมนั้นล้วนถือกำเนิดก่อนการก่อตั้ง กสทช.ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหมดล้วนต้องฝ่าฟันบนเส้นทางธุรกิจด้วยตนเอง โดยปราศจากการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ แต่เมื่อเกิดโครงการแห่งชาติที่ต้องการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศจากระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิทัลเช่นเดียวกับนานาชาติในภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวอย่างหนัก พร้อมทั้งต้องลงทุนพัฒนาโครงการด้วยเม็ดเงินลงทุนมูลค่ามหาศาล เพื่อสนองนโยบายแห่งรัฐ ดังนั้น การจำกัดตัดสิทธิ์จึงถือเป็นกรณีที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม

 

ในการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับระบบการออกอากาศบนระบบดิจิทัลให้ลุล่วงตามเจตนารมณ์ของ กสทช.นั้นมีองค์ประกอบสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีศักยภาพและรวดเร็ว โดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ต้องการให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว แต่กลับไม่เคยให้ความช่วยเหลือใดๆ เลย อีกทั้งไม่ให้เครื่องมือสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี สาเหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มโดยตรง เนื่องจากต้นทุนที่สำคัญของเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม คือ ระบบโครงข่ายและกล่องรับสัญญาณ (กล่อง Set-Top-Box) หากต้องการเร่งวางกล่องรับสัญญาณแบบดิจิทัล ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายก่อนจึงจะสามารถวางกล่องดิจิทัลได้ แม้ในวันนี้ผู้ประกอบการหลายรายได้พัฒนาตนเองเพื่อรองรับระบบดิจิทัลแล้ว แต่ต้องลงทุนเรื่องกล่อง Set-Top-Box ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีก ในขณะที่ฟรีทีวีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจภายหลังกลับได้สิทธิพิเศษตามที่ตนเองต้องการย่อมไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ กสทช.

 

ขณะที่ นายวรสิทธิ์ กล่าวถึงข้อเท็จจิรงที่หลายคนอาจมองข้ามว่า “ที่ผ่านมาธุรกิจดาวเทียมได้สร้างฐานมาด้วยตนเอง เห็นจากการเข้าถึงในทุกพื้นที่อย่างครอบคลุมอย่าง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนพื้นที่ที่ยากแก่เข้าถึง อาทิ พื้นที่ในที่ห่างไกล และภูมิประเทศอย่างภูเขา เกาะต่างๆ ขณะที่การให้บริการในยุคดิจิทัลระยะเริ่มแรกนั้น การแพร่ภาพเสียงและภาพได้ใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมในการส่งต่อสัญญาณให้ได้รับชมในแพลตฟอร์มดาวเทียมอย่างมีศักยภาพเช่นเดียวกัน แต่กลับเผชิญ อุปสรรคที่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปฏิเสธไม่ได้จาก หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ กฎ Must Carry ของภาครัฐเอง ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อสร้างหลักประกันว่า ผู้ชมจะต้องเข้าถึงและได้รับชมฟรีทีวีได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านช่องทาง (Platform) ของผู้ให้บริการโครงข่าย (ทั้งภาคพื้นดินและดาวเทียม) ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียม) โดยกฎ Must Carry ดังกล่าวมีนัยยะที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นับจากนี้ ผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มจะต้องถูกบังคับให้แพร่ภาพฟรีทีวี (24 ช่อง) และทีวีสาธารณะ (12 ช่อง) รวมทั้งหมด 36 ช่องบนระบบดิจิทัล ขณะที่ทีวีที่แพร่ภาพบนระบบอนาล็อกนั้นมีช่องรายการไม่เกิน 5 – 60 ช่อง ซึ่งการแพร่ภาพบนระบบดิจิทัล 36 ช่องนี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการเสียค่าเช่าช่องทรานสปอนเดอร์เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้น เมื่อมาถึงวันนี้ภาครัฐมีโครงการจัดสรรคูปองทีวีดิจิทัล แต่กลุ่มธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมกลับไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมจึงต้องการให้ทั้ง คตร.และ กสทช. พิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้ง เพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม”

 

นอกจากนี้ นายนิรันดร์ ได้กล่าวเสริมถึงประเด็น Must Carry เพิ่มเติมว่า “นับแต่การใช้กฎ Must Carry กับทีวีดิจิทัล 36 ช่องผ่านทีวีดาวเทียมนับแต่เดือนเมษายน 2557 ตามเจตนารมณ์ของ กสทช.ทุกประการ และปัญหาจากการดำเนินการนี้ก็ส่งผลต่อการให้บริการของบริษัท อาทิ ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ที่จะต้องตอบคำถามลูกค้าในกรณีที่ไม่สามารถรับชมทีวีดิจิทัลได้ เนื่องจากทีวีดิจิตอลนั้นข้ารหัสที่เรียกว่า “บิสคีย์” (Biss Key) ทั้งหมด ทำให้กล่อง Set-Top-Box เดิมก่อนปี 2554 ไม่สามารถรองรับได้และต้องมีการอัพเกรดและปรับปรุงซอฟต์แวร์ ขณะเดียวกัน ก็มีข้อสังเกตอีก 2 ประการ คือ 1) กสทช.ได้ทำประชาพิจารณ์ก่อนหน้านี้ แต่มิได้ดำเนินการตามผลของประชาพิจารณ์ เนื่องจากมีเป้าหมายของหน่วยงานอยู่แล้ว 2) การเสียค่าธรรมเนียมของกล่อง Set-Top-Box ของกลุ่มธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม นั้นก็มีการส่งให้ กสทช. ตรวจสอบเช่นเดียวกันกับของทีวีดิจิทัล แต่ Set-Top-Box ของกลุ่มธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ซึ่งเป็นรุ่น S1, S2 กลับต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท/กล่อง ในขณะที่กล่อง Set-Top-Box ของทีวีดิจิทัลรุ่น T2 กลับเสียค่าธรรมเนียมเพียง 5 บาท/กล่องกลับได้รับการติดสติ๊กเกอร์ “น้องดูดี” รับรองว่าดูทีวีดิจิทัลได้ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนทางด้านการตลาดอื่นๆ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมต่อกล่องแพงกว่ากลับไม่ได้สติ๊กเกอร์และการสนับสนุนใดๆ เลย

 
ที่สำคัญ จากการประชุมของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หลายครั้งและได้มีมติให้มีการจัดสรรคูปองให้กับทุกกลุ่มธุรกิจอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ก็เห็นชอบกับมติดังกล่าว อีกทั้งได้มีการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันนี้ จนเป็นที่รับทราบกันเป็นที่สาธารณะในทุกภาคส่วนตรงกัน หากจะมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตการจัดสรร ตลอดจนเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการจัดสรรเพื่อตอบสนองประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจึงย่อมไม่ใช่เรื่องชอบธรรมด้วยประการทั้งปวง ที่สำคัญ เงินกองทุนที่นำมาจัดตั้งเพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการจัดสรรคูปองฯ ดังกล่าวมิใช่เงินของกลุ่มธุรกิจฟรีทีวีเท่านั้น หากแต่เป็นรายได้ของประเทศที่สมควรกระจายสู่กลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ”

 
สำหรับประเด็นของ “บิสคีย์” นายณัฐ ได้กล่าวเสริมว่า “ทีวีดิจิทัลไม่จำเป็นต้องใส่ “บิสคีย์” ซึ่งทำให้เป็นการเข้ารหัสซ้ำซ้อน เพราะลำพังแค่การเข้ารหัสด้วยการทำ “โอทีเอ” (OTA : Over-The-Air) ซึ่งเป็นการถ่ายข้อมูลจากดาวเทียมลงสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมโดยตรงก็เพียงพอแล้ว และการเข้ารหัสบัสคีย์จนทำให้ประชาชนที่มีกล่องรุ่นเดิมไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง”

 
ส่วนตัวเลขของคูปองการจัดสรรกล่อง Set-Top-Box นั้น นายณัฐ ให้ทัศนะที่น่าสนใจเพิ่มเติมด้วยว่า “ไม่ว่าตัวเลขของคูปองจะเป็น 690 หรือ 1,000 บาทก็ตาม ตนเองอยากให้มองอย่างไม่หลงประเด็นว่า เม็ดเงินดังกล่าวคือ “ส่วนลด” ที่ กสทช. มอบให้กับประชาชนเพื่อใช้ซื้อกล่อง Set-Top-Box เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่มีทางให้เลือกเสพมากขึ้นนอกเหนือจากฟรีทีวีที่มีเพียงไม่กี่ช่องมาเป็นจำนวนหลายสิบช่องจากการเปิดตัวของทีวีดิจิทัล ดังนั้น จึงต้องการให้ กสทช. ทบทวนถึงการให้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถที่จะเลือกซื้อกล่อง Set-Top-Box ที่รองรับระบบ HD ได้ด้วย เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่า ในอนาคตระบบการออกอากาศของโทรทัศน์ไทยก็จะเป็นดิจิทัลทั้งหมด และด้วยเม็ดเงินดังกล่าวนั้นก็ไม่สามารถซื้อกล่อง Set-Top-Box ได้ทั้งหมด หากแต่เป็นส่วนลดที่จะทำให้ประชาชนใช้วิจารณญาณของตนเองตัดสินใจได้ตามกำลังซื้อว่า จะสามารถซื้อกล่อง Set-Top-Box ประเภทใดระหว่าง SD หรือ HD ด้วยตนเอง และหากในอนาคตจะซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอลและอยู่ในเขตภูมิภาคก็จะสามารถใช้กล่อง Set-Top-Box ที่รองรับระบบ HD ได้

 
“อย่างไรก็ตาม เราเคารพความคิดเห็นของ 14 กลุ่มฟรีทีวี เพียงแต่อยากเสนอให้ทั้ง คตร. และ กสทช. ได้มีการทบทวนโดยมุ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งและปรับความเข้าใจที่ถูกต้องที่มีต่อ “ที่มา” ที่แท้จริงเงินกองทุนเพื่อการจัดสรรคูปองดังกล่าวว่า เงินกองทุนฯ นี้ไม่ได้เป็นของกลุ่มฟรีทีวีแต่เพียงกลุ่มเดียว เนื่องจากการประมูลขายทีวีดิจิตอลนั้นเป็นการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ ดังนั้น รายได้ที่ได้จากการประมูลจึงถือเป็นรายได้ของประเทศ หรือ “เงินแผ่นดิน” การใช้เงินแผ่นดินเพื่อการใดก็ตามจึงควรที่จะคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก”

 
ขณะที่ นายเชิดศักดิ์ ยังให้ทัศนะก่อนปิดท้ายอีกด้วยว่า “มีข้อเท็จจริงอีกประการที่ผมคิดว่า ฟรีทีวีอาจมองข้ามประเด็นนี้ไป นั่นคือยุทธศาสตร์การเพิ่มสายตาผู้ชม หรือที่เรียกว่า Eyeball จะเกิดขึ้นได้อย่างมากมายมหาศาลทันที หากสามารถวางกล่อง Set-Top-Box ได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งเมื่อเกิด Eyeball เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลภายในระยะเวลาอันสั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมหมายถึงเม็ดเงินของรายได้ที่จะมาจากโฆษณาทีวีประมาณ 70,000 – 80, 000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากฟรีทีวีสามารถโฆษณาได้ 12 นาที / ชั่วโมง ในขณะที่เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถโฆษณาได้เพียง 6 นาที / ชั่วโมงเท่านั้น

 

 

 

 

dtac CTH แพ็กเกจใหม่ ติดกล่องฟรี ดูครบ 114 ช่อง พร้อมเน็ต 4G ไม่อั้น โทรฟรีทุกเครือข่าย

 

dtac-cth-01

 

วันก่อนเพิ่งจะไปร่วมงานแถลงข่าว Sanook ร่วมมือกับ CTH ให้ดูบอลผ่านเว็บครั้งแรกในไทย ไปหมาดๆ ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์มีข่าว dtac จับมือร่วมกับ CTH อีกแล้ว โอ้วนี่มันอะไรกัน ช่วงนี้คงเป็นฤดูกาลจับคู่พาร์ทเนอร์ของ CTH เพื่อไล่กวาดฐานลูกค้าอย่างจริงจัง ไว้สู้กับคู่แข่งอย่าง True Vision เป็นแน่

 

และสำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้ ก็ถือเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าดีแทค ได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น โดยแค่สมัครแพ็กเกจ dtac CTH ซึ่งมีให้เลือก 3 แพ็กเกจ ก็จะได้รับกล่องรับสัญญาณ CTH ฟรี มูลค่า 1,800 บาท และฟรีค่าติดตั้ง 1,000 บาท โดยสามารถชมรายการได้ครบทั้ง 114 ช่อง (รวมถึงช่องฟุตบอลลีค ต่างๆ) นอกจากนี้ลูกค้า dtac ยังได้รับชมผ่านแอพ dtac Watchever ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้อีก 12 ช่อง ไฮไลต์ ที่คัดสรรมา (ยกเว้นช่องบอลพรีเมียร์ลีคต่างๆ นะครับ เพราะมีทำกับ AIS ไปแล้ว) และในแพ็กเกจนี้ลูกค้า ยังจะได้รับอินเทอร์เน็ตให้ใช้งานฟรี ไม่จำกัด โดยใช้ความเร็ว 3G สูงสุดได้ถึง 3 GB สำหรับรายละเอียด ในแต่ละแพ็กเกจ มีดังนี้

 

dtac-cth-02

 

dtac CTH แพ็กเกจ

แพ็กเกจหลัก dtac CTH 1,299 ค่าบริการ 1,299 บาท/เดือน สมัครเดือนแรกลดค่าบริการ 50%

• รับชม CTH ผ่านกล่องรับสัญญาณ 114 ช่อง (เทียบเท่า Super Premium pack 1,250 บาท)

• รับชม CTH ช่องไฮไลท์ผ่านแอพพลิเคชั่น dtac Watchever

• โทรฟรีทุกเครือข่าย 300 นาที

• อินเทอร์เน็ตไม่จำกัด ใช้ความเร็ว 4G/3G สูงสุดได้ 3 GB

• พิเศษ! อินเทอร์เน็ต 4G ฟรี 3 GB

• dtac wifi ไม่จำกัด

• SMS 250 ครั้ง

 

แพ็กเกจเสริม dtac CTH 999 ค่าบริการ 999 บาท/เดือน

• รับชม CTH ผ่านกล่องรับสัญญาณ 114 ช่อง (เทียบเท่า Super Premium pack 1,250 บาท)

• รับชม CTH ช่องไฮไลท์ผ่านแอพพลิเคชั่น dtac Watchever

• เพิ่มฟรี! อินเทอร์เน็ตไม่จำกัด ใช้ความเร็ว 3G สูงสุดได้ 3 GB

 

แพ็กเกจเสริม dtac CTH 499 ค่าบริการ 499 บาท/เดือน

• รับชม CTH ผ่านกล่องรับสัญญาณ 100 ช่อง (เทียบเท่า Edutainment pack 650 บาท)

• รับชม CTH ช่องไฮไลท์ผ่านแอพพลิเคชั่น dtac Watchever

• เพิ่มฟรี! อินเทอร์เน็ตไม่จำกัด ใช้ความเร็ว 3G สูงสุดได้ 1.5 GB

 

สมัครแพ็กเกจได้แล้ววันนี้ ที่ศูนย์บริการดีแทคทุกสาขาทั่วประเทศ หรือผ่านทาง แอพพลิเคชั่น dtac Watchever ดาวน์โหลดได้จาก App Store และ Play Store หรือกด *197*5# แล้วโทรออก

 

งานเปิดตัวในครั้งนี้ dtac ได้เนรมิต dtac house ชั้น 38 ให้กลายเป็น Party สุดมันส์ ใน Theme งาน Blue Party พร้อมมินิคอนเสิร์ตจาก เจ เจตริน ให้กับสื่อมวลชน และผู้ร่วมงานได้ร่วมสนุกช่วงท้ายงานอีกด้วย

dtac-cth-05

dtac-cth-04

dtac-cth-03