ก่อนหน้านี้สำนักข่าวบีบีซีออนไลน์เคยรายงานผลการวิจัย พบว่าการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างหนักระหว่างวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งที่ต่อมน้ำลายเพิ่มสูงขึ้น และในปัจจุบันพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง ยกตัวอย่างวัยรุ่น 25 ปีคนหนึ่งเล่าว่า
“เธอใช้โทรศัพท์มือถือคุยกับแฟนทุกคืนวันละ 2 ชั่วโมง (เพราะค่าโทรเวลานั้นถูก) คุยกันจนมือถือร้อนถึงวางหู กลางวันทำงานเป็นพนักงานขายก็ต้องใช้มือถือตลอดเวลาอีก ในระยะเวลา 5 ปี เธอเปลี่ยนโทรศัพท์มาแล้วถึง 7 เครื่อง” //ไม่ได้อยากออกรุ่นใหม่นะ แต่ใช้จนมันพังจริงๆ Oops!
ไม่นานเธอพบก้อนแข็งๆ ใกล้ๆบริเวณใบหูแต่ไม่ได้สนใจอะไร หลังจากนั้นสองเดือนมันก็เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลพบว่าเป็นเนื้องอกต่อมน้ำลาย หลายคนอาจสงสัยว่านอกจากคุยโทรศัพท์นานๆยังมีกรณีอื่นที่อาจทำให้เป็นโรคมะเร็งได้หรือไม่ บอกเลยว่ามีค่ะ เช่น
1.การวางโทรศัพท์มือถือไว้ข้างหมอนอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
คลื่นจากโทรศัพท์มือถือส่งผลเสียต่อสมองมากกว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหัว มึนหัว นอนไม่พอ หลับไม่สนิทหรือผมร่วง
2.ใช้สายคล้องโทรศัพท์ไว้แบบคล้องคอมีผลทำให้การทำงานของหัวใจและต่อมไร้ท่อผิดปกติ
คลื่นแม่เหล็กมีผลต่อการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ทำให้การเผาผลาญของเซลล์ การควบคุมปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม โซเดียมและไอออผิดปกติ และยังมีผลต่ออาการผิดปกติของประจำเดือนของสาวๆอีกด้วย
3.การพกโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋ากางเกง มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และเป็นไปได้ว่าทำให้เกิดการดัดแปลงระดับชั้นพันธุกรรม ( DNA)
หากคุณพกโทรศัพท์มือถือไว้บริเวณเอวหรือหน้าท้องบ่อยๆ ควรระวังเพราะว่าคลื่นของโทรศัพท์มือถืออาจจะแผ่รังสีไปโดนเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของผู้ชายและผู้หญิง และเป็นไปได้หากเซลล์สืบพันธุ์ได้รับคลื่นในขณะที่กำลังเจริญเติบโตนั้นอาจะทำให้เกิดการดัดแปลงระดับชั้นพันธุกรรม ( DNA)
4.การใช้สายตาเล่นเนตหรืออ่านหนังสือบนมือถือมากๆ อาจทำให้เกิดมะเร็งในดวงตาได้
จากผลการวิจัยในประเทศเยอรมนีพบว่า คนที่เล่นโทรศัพท์มือถือบ่อยๆมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งในดวงตามากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
วิธีป้องกัน
วิธีที่ 1. การติดแผ่นกันสัญญาณแม่เหล็กบนมือถือ
รังสีอันตรายจากมือถือนั้นมาจากสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งมาจากเสาอากาศ แล้วอย่างนี้การติดที่กันคลื่นแม่เหล็กบนยนมือถือจะช่วยได้ขนาดไหนเชียว
วิธีที่ 2. เลือกใช้เคสโทรศัพท์ที่ทำมาจากพลาสติก
ไม่ว่าเคสโทรศัพท์ที่ใช้จะเป็นพลาสติกหรือไม่รังสีที่ส่งออกมาจากมือถือนั้นก็ยังเท่าเดิม
วิธีที่ 3. ในขณะที่รับสายโทรศัพท์ไม่ควรนำโทรศัพท์เข้ามาใกล้หูทันที
โทรศัพท์ในขณะที่เพิ่งรับสายนั้นเป็นช่วงที่สัญญาณแรงที่สุด หลังจากกดรับสายแล้วนั้นความแรงของสัญญาณโทรศัพท์จะลดลงและคงที่ เพราะฉะนั้นเวลากดรับสายโทรศัพท์ไม่ควรนำโทรศัพท์เข้ามาใกล้ศีรษะทันที
วิธีที่ 4. อย่าคุยนาน
ลดเวลาการคุยผ่านโทรศัพท์มือถือ และพยายามอย่าพูดสายนานเกิน 1-2 ชม.ต่อวัน
วิธีที่ 5. อย่าโทรบ่อย
ความแรงของสัญญาณโทรศัพท์ในการโทรออกและการรับสายนั้นต่างกัน สัญญาณโทรศัพท์ขณะที่โทรออกนั้นแรงกว่าขณะรับสาย
วิธีที่ 6. สลับข้างการคุยซ้ายขวา
วิธีที่ 7. หลีกเลี่ยงการพูดสายในที่ๆมีสัญญาณโทรศัพท์ต่ำ
เมื่อคุยโทรศัพท์มือถือในที่ที่มีสัญญาณต่ำนั้น แปลว่าอยู่ไกลจากตู้สัญญาณซึ่งทำให้ต้องใช้สัญญาณแรงขึ้นในการต่อสาย
วิธีที่ 8. ต่อหูฟังเวลาพูดสาย
ควรใช้หูฟังเวลาต้องคุยโทรศัพท์นานๆ และควรวางโทรศัพท์ให้ห่างจากศีรษะมากกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้สัญญาณมือถือเข้าใกล้ศีรษะโดยตรง
วิธีที่ 9. หลีกเลี่ยงการพูดสายเวลาแบตใกล้หมด
วิธีที่ 10. ไม่พูดสายขณะกำลังชาร์มือถือ
วิธีที่ 11. เวลานอนไม่ควรวางโทรศัพท์มือถือไว้ข้างหมอน
Source