แบตเตอรี่ (Battery) ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน

 

b1แบตเตอรี่ (Battery) ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาแทบทุกชนิด จำเป็นที่จะต้องอาศัยแหล่งพลังงานที่สามารถจะเก็บไฟไว้ และจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ใช้ในการทำงานได้อย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องมาคอยเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟอยู่บ่อยๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่พบเห็นได้ใกล้ตัวที่สุดก็คงเป็นสมาร์ทโฟน ที่ปัจจุบันแทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่สำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ไปแล้ว เพราะไม่ว่าจะไปไหนมาไหนก็ต้องมีพกติดตัวกันไว้ตลอดเวลา

 

ดังนั้นหากใช้ๆอยู่แล้วแบตฯเกิดหมดขึ้นมา ช่วงเวลานั้นหากไม่สามารถหาปลั๊กเพื่อชาร์จไฟได้ คุณคงรู้สึกเคว้งคว้างเหมือนอยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ และสมาร์ทโฟนก็คงไม่ต่างอะไรกับที่ทับกระดาษเก๋ๆ เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าแบตเตอรี่ตัวน้อย แต่มีความสำคัญยิ่งยวดในมือถือสมาร์ทโฟนของเราๆกัน แต่ก่อนอื่นเรามาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน จนทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วกันก่อนดีกว่า

 

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็ว

 

b02

 

  • ขนาดหน้าจอ และความละเอียดในการแสดงผล อันนี้นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานมากที่สุด เพราะยิ่งมีขนาดหน้าจอที่ใหญ่ และมีความละเอียดในการแสดงผลสูง ก็ยิ่งต้องใช้ไฟมากขึ้น สังเกตได้จากสมาร์ทโฟนรุ่นไหนมีขนาดหน้าจอที่ใหญ่และมีความละเอียดสูงกว่า ก็มักจะมีปริมาณความจุของกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ (mAh) ที่มากกว่า เป็นต้น
  • การเล่นแอพฯจำพวกเกมส์ต่างๆ นี่ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่สำคัญเพราะหลายท่านคงทราบดีว่าเวลาเล่นเกมส์ คงไม่มีใครเล่นแป๊บๆแล้วเลิกแน่ๆ บางรายยิ่งเล่นยิ่งมันส์ เผลอๆเล่นติดต่อกันเป็นชั่วโมงจนเครื่องร้อนฉ่า และถ้ายิ่งถ้าเป็นเกมส์ใหญ่ๆที่มีภาพกราฟิกสวยๆ ซึ่งต้องใช้พลังในการประมวลผลสูงด้วยแล้วล่ะก็ อันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสิ้นเปลืองพลังงานสุดๆ
  • ความสว่างบนหน้าจอ ปกติก็มักจะใช้เป็นค่าเริ่มต้น (Default) ที่เครื่องกำหนดมาให้คือ ปรับค่าความสว่างอัตโนมัติ (Auto-Brightness) อยู่แล้ว แต่ถ้าหากเราปรับความสว่างให้มากขึ้น นั่นก็จะเป็นสาเหตุให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นด้วยเช่นกัน
  • การเชื่อมต่อกับเครือข่ายฯ 3G/4G หรือ Wi-Fi ปกติสมาร์ทโฟนเมื่อใช้งานร่วมกับซิมที่เปิดใช้บริการ 3G/4G เอาไว้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในขอบเขตพื้นที่ให้บริการ ก็มักจะต้องเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายฯ 3G/4G แทบจะตลอดทั้งวันอยู่แล้ว เว้นเสียแต่ว่าสามารถใช้บริการ Wi-Fi ของเครือข่ายเดียวกันกับซิมที่ใช้ได้ด้วย และตั้งค่าให้เชื่อมต่อ Wi-Fi อัตโนมัติเมื่ออยู่ในพื้นที่ให้บริการ ซึ่งนั่นก็จะเป็นการดี เพราะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายฯ 3G/4G นั้น จะต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่มากกว่าการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi สังเกตได้จากเวลาเราใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับ Wireless หรือ Wi-Fi ของที่บริษัทหรือที่บ้าน หากเป็นการใช้งานทั่วๆไปแบตเตอรี่ของเราจะอยู่ได้นานตลอดทั้งวัน แต่ถ้าเราไปไหนๆแล้วใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับเครือข่ายฯ 3G/4G อยู่ตลอดทั้งวัน หากเป็นการใช้งานแบบเดียวกันแบตเตอรี่มักจะหมดเร็วกว่าอยู่เสมอ การเลือกใช้งานเครือข่าย 2G, 3G และ 4G ก็เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นการใช้งานเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่าอย่าง 4G ก็ยิ่งต้องใช้ไฟจากแบตเตอรี่มากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าเป็นการรับส่งข้อมูลปริมาณมากๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการโทร นั่นก็ยิ่งเป็นการใช้ไฟจากแบตเตอรี่มากขึ้นด้วยเหมือนกัน
  • ระยะเวลาในการใช้งานโทรศัพท์ ก็แน่นอนว่าถ้ายิ่งโทรเข้าโทรออกบ่อยๆและพูดคุยครั้งละนานๆ แถมยังต้องใช้งานมือถือสมาร์ทโฟนทำอย่างอื่นอีก ไฟในแบตเตอรี่คงไม่เหลือพอให้ใช้งานไปได้ตลอดทั้งวันแน่ๆ

 

ชนิดของแบตเตอรี่ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน

 

แบตเตอรี่ (Battery) ที่ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน มักเป็นแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเธียมไอออน) หรือไม่ก็ Li-po (ลิเธียมโพลีเมอร์) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่แบบเซลล์แห้งชนิดที่สามารถชาร์จหรือประจุไฟฟ้าใหม่ได้ (Rechargeable Battery) โดยทั้ง Li-ion และ Li-po มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันดังนี้

 

b05

 

  • Li-ion (ลิเธียมไอออน) เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกจำกัดในด้านรูปทรง (ทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยม) มีความหนาแน่นของพลังงานสูงจึงจุไฟได้มาก มีอัตราการคายประจุหรือสูญเสีย Loss ต่ำ ไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟทิ้งไว้เพื่อกระตุ้นก่อนการใช้งานในครั้งแรก ไม่ต้องดูแลรักษามาก มีความปลอดภัยสูง และที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่า Li-po (ลิเธียมโพลีเมอร์) ปัจจุบันพบเห็นได้น้อยลงเพราะหันไปใช้ Li-po กันมาก

b06

  • Li-po (ลิเธียมโพลีเมอร์) หรืออาจเรียกว่า ลิเธียมไอออนโพลีเมอร์ (Li-ion Polymer) ก็ได้ เพราะถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก Li-ion ให้เป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดบาง น้ำหนักเบา สามารถออกแบบได้หลากหลายรูปทรงโดยไม่มีข้อจำกัด มีอัตราการคายประจุใกล้เคียงกับ Li-ion ได้รับการปรับปรุงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่มีราคาต้นทุนต่อหน่วยที่แพงกว่า Li-ion (ลิเธียมไอออน) ปัจจุบันพบเห็นได้แพร่หลาย ยกตัวอย่างสมาร์ทโฟนของค่าย Apple นับตั้งแต่ iPhone 5 เรื่อยมาก็ใช้แบตเตอรี่แบบ Li-ion Polymer นี้แหละจ้า

 

หน่วยวัดความจุไฟของแบตเตอรี่ (mAh)

 

mAh เป็นหน่วยวัดความจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่นั้นๆ ซึ่งย่อมาจาก m = มิลลิ, A = แอมป์, h = ชั่วโมง หรือก็คือ มิลลิแอมป์-ชั่วโมง นั่นเอง ยกตัวอย่าง แบตเตอรี่ก้อนหนึ่งมีความจุ 1 mAh ก็จะหมายถึง แบตเตอรี่ก้อนนี้จะสามารถจ่ายกระแสไฟขนาด 1 มิลลิแอมป์ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือยกตัวอย่างแบตเตอรี่ของ iPhone 6 ที่มีความจุ 1,810 mAh ซึ่งก็หมายความว่า แบตเตอรี่ก้อนนี้จะสามารถจ่ายกระแสไฟขนาด 1,810 มิลลิแอมป์ (1.81 แอมป์) ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

 

iphone6p-batt-02

 

ในทางกลับกันหน่วยวัดดังกล่าวนี้ จะช่วยให้เรารู้ได้ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ถึงจะชาร์จไฟให้เต็มแบตเตอรี่นี้ได้ โดยหากเป็นการชาร์จไฟในระดับปกติที่มีอัตราการชาร์จไฟคิดเป็น 1 เท่าของความจุแบตเตอรี่ (C) หรือที่เรียกว่า 1C เช่น ถ้าแบตเตอรี่มีความจุ 1,000 mAh หรือก็คือ C = 1,000 mAh เพราะฉะนั้นถ้าเป็นการชาร์จไฟในระดับปกติที่อัตรา 1C หรือก็คือเป็นการชาร์จด้วยกระแสไฟ 1,000 mA หรือ 1 A จะใช้เวลาในการชาร์จไฟทั้งสิ้นประมาณ C/1A = 1 ชั่วโมงนั่นเอง และถ้าหากเป็นการชาร์จไฟในระดับสูงที่มีอัตราการชาร์จไฟคิดเป็น 5 เท่าของความจุแบตเตอรี่ (C) หรือที่เรียกว่า 5C นั่นก็เท่ากับว่าหากเป็นการชาร์จด้วยกระแสไฟ 5,000 mA หรือ 5 A จะใช้เวลาในการชาร์จไฟทั้งสิ้นประมาณ C/5A = 0.2 ชั่วโมง หรือก็คือ 12 นาที (ในทางปฏิบัติอาจใช้เวลามากกว่านี้อันเป็นผลมาจากการสูญเสียพลังงาน)

 

จริงๆแล้วในทางปฏิบัติ กระบวนการในการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ชนิด Li-ion นั้น เซลล์ต่างๆของแบตเตอรี่จะถูกชาร์จด้วยระดับแรงดันไฟประมาณ 4.2 +/- 0.05 V (โวลท์) ซึ่งวงจรควบคุมจะตัดเมื่อระดับแรงดันไฟขึ้นไปถึง 4.3 V หรือหากมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส โดยที่กระบวนการในการชาร์จในทางปฏิบัติจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ

 

apple-battery-lithium-ion-charge

 

  • ระยะที่ 1 (Fast Charge) : จะเป็นระยะของการชาร์จด้วยกระแสไฟแบบคงที่เต็มพิกัด จนเซลล์ของแบตเตอรี่ได้รับแรงดันไฟ จนถึงระดับที่กำหนดหรือประมาณ 80% (เกือบเต็ม) ซึ่งระยะนี้จะคล้ายกับว่า เป็นการชาร์จด้วยอัตราเร่งนั่นเอง จากนั้นจะค่อยๆเติมประจุให้กับส่วนที่เหลือ จนทุกๆเซลล์ของแบตเตอรี่ได้รับระดับแรงดันไฟสูงสุดจนเต็ม ระหว่างนี้กระแสไฟที่ถูกชาร์จเข้าไปยังเซลล์ของแบตเตอรี่จะค่อยๆลดลง
  • ระยะที่ 2 (Trickle Charge) : จะเป็นระยะที่กระแสไฟจะค่อยๆลดลง จนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3% ของอัตรากระแสเฉลี่ย และจะถูกตัดการชาร์จไปในที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการถนอมการใช้งานแบตเตอรี่นั่นเอง จะสังเกตได้ว่าหากเรานำมือไปสัมผัสกับแบตเตอรี่ในระหว่างที่ทำการชาร์จไฟ หากอยู่ในระยะที่ 1 จะรู้สึกได้ว่าร้อน แต่เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว จะรู้สึกได้ว่าเย็นลง

 

ซึ่งจากการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ชนิด Li-ion โดยทั่วไปที่พบนั้น โดยมากมักจะเต็มภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง และถึงแม้จะเป็นการชาร์จไฟในระดับสูงหรือชาร์จด้วยกระแสไฟสูง ก็ไม่ได้ช่วยให้ระยะเวลาในการชาร์จโดยรวมลดลงมากนัก เพราะการชาร์จด้วยกระแสไฟสูงจะช่วยเร่งระยะเวลาในการชาร์จในระยะที่ 1 ให้เซลล์ของแบตเตอรี่ได้รับแรงดันไฟจนถึงระดับที่กำหนดเร็วยิ่งขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังต้องใช้เวลาไปกับการ Trickle Charge ในระยะที่ 2 อยู่

 

ระยะเวลาในการใช้งาน กับความจุของแบตเตอรี่

 

Screen-Shot-2013-01-06-at-9.42.30-AMตัวเลขที่ระบุค่าความจุของแบตเตอรี่บนสมาร์ทโฟน จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในจ่ายกระแสไฟได้อย่างต่อเนื่องเป็นปริมาณกี่มิลลิแอมป์หรือกี่แอมป์ต่อระยะเวลา 1 ชั่วโมงของแบตเตอรี่ก้อนนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากตัวเลขค่าความจุของแบตเตอรี่ระบุไว้ว่า 1,810 mAh นั่นก็หมายความว่า แบตเตอรี่ก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสไฟต่อเนื่องได้ในปริมาณ 1,810 มิลลิแอมป์ (mA) หรือก็คือประมาณ 1.81 แอมป์ (A) เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า หากตัวเลขค่าความจุของแบตเตอรี่ยิ่งมาก ก็จะยิ่งช่วยให้เราสามารถใช้งานหรือทำกิจกรรมต่างๆบนมือถือได้เป็นระยะเวลานานยิ่งขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างระยะเวลาในการใช้งานเพื่อทำกิจกรรมต่างๆเทียบกับความจุของแบตเตอรี่บนสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน อาทิ iPhone 6, iPhone 6 Plus, Samsung Galaxy S5 และ Samsung Galaxy Note 4 มีรายละเอียดดังนี้

 

b07

 

จำนวนรอบการชาร์จ (Cycle) บอกถึงอายุแบตเตอรี่

 

แบตเตอรี่ที่ใช้กับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาต่างๆทั้งที่เป็นชนิด Li-ion (ลิเธียมไอออน) และ Li-po (ลิเธียมโพลีเมอร์) ต่างก็มีวันหมดอายุหรือเสื่อมสภาพการใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลาเสื่อมสภาพก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตฯใหม่ไม่ควรฝืนใช้งานต่อ เพราะอาจเป็นอันตรายและเก็บไฟได้ไม่เสถียร

 

การที่จะทำให้เราทราบถึงวันหมดอายุหรือเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ที่ใช้ได้นั้น เราจะใช้วิธีนับจำนวนรอบของการชาร์จหรือเรียกสั้นๆว่าการนับ Cycle ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ว่ายังเหลือให้ใช้งานได้อยู่อีกมากน้อยแค่ไหนจนกว่าจะครบตามจำนวนรอบที่บอกถึงการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่นั้นๆ โดยในการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ทุกครั้ง เมื่อชาร์จครบ 100% จะนับเป็น 1 Cycle หรือ 1 วงรอบของการชาร์จ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเรามาดูตัวอย่างของการนับวงรอบของการชาร์จหรือนับ Cycle กัน

 

โดยเริ่มต้น หากความจุของแบตเตอรี่บนมือถือของเราเหลือ 40% (แสดงว่าอีก 60% ที่เหลือนั้นถูกใช้งานไปแล้ว) แล้วนำไปชาร์จไฟจนเต็ม 100% นั่นหมายถึง เราได้ทำการชาร์จไฟบวกเพิ่มเข้าไปอีก 60% เพื่อให้ครบ 100% จึงนับเป็นวงรอบของการชาร์จได้ 0.6 Cycle หลังจากนั้นเมื่อนำมือถือไปใช้งานเรื่อยๆตามปกติ จนแบตเตอรี่เหลือ 60% (แสดงว่าถูกใช้งานไปเพียง 40%) เมื่อนำมาชาร์จไฟจนเต็ม 100% อีกครั้ง นั่นหมายถึง เราได้ทำการชาร์จไฟบวกเพิ่มเข้าไปอีกเพียง 40% เพื่อให้ครบ 100% เมื่อนับวงรอบของการชาร์จในครั้งนี้รวมกับครั้งที่แล้วหรือครั้งที่ผ่านๆมา จะได้จำนวนรอบโดยรวมเป็น 0.4 + 0.6 = 1 Cycle นั่นเอง

 

แบตเตอรี่ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาบางชนิด อาจมีค่ามาตรฐานหรือการนับอายุการใช้งานสูงสุดได้ถึง 1,000 – 1,500 Cycle ก่อนจะเสื่อมสภาพ แต่ค่ามาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อย่าง iPhone, iPod Touch และ iPad จะอยู่ที่ประมาณ 500, 400 และ 1,000 Cycle โดยให้ลองนึกภาพว่าหากเราใช้แบตเตอรี่ทุกวันโดยเฉลี่ยวันละ 50% แล้วชาร์จจนเต็มทุกวัน นั่นหมายถึง ทุกๆ 2 วันจะนับวงรอบได้ 1 Cycle กว่าจะครบ 500 Cycle (iPhone) ที่แบตจะเสื่อม เราจะสามารถใช้งานแบตเตอรี่นี้ได้นานถึง 500 x 2 = 1,000 วัน หรือก็คือประมาณ 2 ปีกว่าหรือเกือบๆ 3 ปีนั่นเอง หรืออีกตัวอย่างคือ ค่ามาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อย่าง Apple Watch จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 Cycle ถ้าหากเราใช้แบตฯทุกวันโดยเฉลี่ยวันละ 50% แล้วชาร์จจนเต็มทุกวัน เราจะสามารถใช้งานแบตเตอรี่นี้ได้นานถึง 1,000 x 2 = 2,000 วัน หรือก็คือประมาณ 5 ปีกว่า แต่ในการใช้งานจริงแบตเตอรี่อาจเสื่อมสภาพได้เร็วกว่านี้เนื่องจากยังมีตัวแปรอีกหลายอย่างที่ทำให้แบตฯเสื่อมเร็ว

 

เราจะทราบจำนวนรอบในการชาร์จ (Cycle) ของแบตเตอรี่บนสมาร์ทโฟนของเราได้อย่างไร

 

หากเราใช้อุปกรณ์จำพวก iDevice ต่างๆอย่าง iPhone, iPad ฯลฯ แล้วทำการเจลเบรกเอาไว้ ให้ดาวน์โหลดแอพฯที่ชื่อ BatteryDetective มาใช้ แต่ถ้าหากเครื่องเราไม่ได้เจลเบรก เราจำเป็นต้องดูผ่านคอมพิวเตอร์โดยให้เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จากนั้นให้ไปดาวน์โหลดโปรแกรม iBackupBot จากเว็บ www.icopybot.com มาติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมา

 

จากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบรายละเอียดของอุปกรณ์ iDevice ที่เราเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ เมื่อพบแล้วให้คลิกที่ชื่อของอุปกรณ์ iDevice ที่เราใช้ในกรอบ Devices แล้วคลิกที่ More Informations จะปรากฏหน้าต่างแสดงข้อมูลต่างๆของแบตเตอรี่ที่อยู่ในตัวอุปกรณ์ iDevice ของเรา จะเห็นบรรทัดที่เขียนว่า CycleCount ซึ่งตัวเลขนี้ก็คือ จำนวนรอบของแบตเตอรี่ลูกนี้ที่ถูกชาร์จไปแล้วนั่นเอง (ในที่นี้คือ 1484 เกินกว่าค่ามาตรฐานที่ 500 มาเกือบ 2 เท่า ก็ถือว่าใช้งานได้เกินคุ้มแล้วอ่ะนะ ^^! แฮร่!)

 

2015-11-10_13-09-45

 

2015-11-10_13-16-03

 

ส่วนบรรทัดอื่นๆคือ

DesignCapacity (ความจุของแบตฯที่ออกแบบมา)

FullChargeCapacity (ความจุที่ชาร์จได้เต็มที่ ต่างกันไปตามแต่ละรุ่นอุปกรณ์)

BatteryCurrentCapacity (เปอร์เซ็นต์ของแบตฯ ณ ตอนนี้)

BatteryCharging (สถานะของการชาร์จแบตฯ True=ชาร์จได้ปกติ/False=แบตฯมีปัญหาหรือชาร์จไฟไม่เข้า ^^!)

FullyCharged (แบตฯถูกชาร์จเต็มอยู่หรือไม่ True=เต็ม/False=ยังไม่เต็ม)

 

ชาร์จแบตฯให้สมาร์ทโฟนในแบบไร้สาย (Wireless Charger)

 

nexus-4-wireless-charger-7ถ้าพูดถึงการชาร์จแบตฯให้กับสมาร์ทโฟนคุณคงนึกถึงอะแดปเตอร์คู่ตัวที่ใช้เสียบกับไฟบ้านซึ่งคุณเองก็คงใช้อยู่เป็นประจำทุกวี่วันอยู่แล้ว หรือไม่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบเดินทางไปไหนมาไหนบ่อยๆก็คงนึกถึงแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) เพราะสะดวกและไม่ต้องคอยพึ่งพาปลั๊กไฟบ้านอยู่บ่อยๆ แต่บางคนอาจนึกไม่ถึงว่ายังมีการชาร์จแบตฯให้กับสมาร์ทโฟนอีกแบบที่ไม่ต้องคอยมานั่งเสียบอะแดปเตอร์เข้ากับปลั๊กไฟบ้านหรือหยิบแบตเตอรี่สำรองขึ้นมาใช้ให้ยุ่งยาก เพียงแต่สมาร์ทโฟนของคุณต้องถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีนี้ด้วย นั่นก็คืิอ การชาร์จแบตเตอรี่ในแบบไร้สาย (Wireless Charger) ที่ซึ่งเป็นการชาร์จแบตฯโดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่อสายใดๆระหว่างแท่นชาร์จกับตัวสมาร์ทโฟนเหมือนกับการใช้อะแดปเตอร์ เพียงแค่เสียบปลั๊กให้กับแท่นชาร์จ จากนั้นเมื่อใดก็ตามที่ต้องการชาร์จแบตฯก็แค่วางสมาร์ทโฟนของคุณแปะไว้บนแท่นชาร์จ ซึ่งถ้าแท่นชาร์จมีขนาดใหญ่ก็สามารถวางสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ที่รองรับได้หลายเครื่องพร้อมกัน เพียงเท่านี้แบตฯก็จะถูกชาร์จไปเรื่อยๆจนเต็ม จากนั้นเราก็สามารถหยิบไปใช้งานต่อในทันที

 

“Wireless Charger ทำงานอย่างไร ?”

 

สำหรับเทคโนโลยีในการชาร์จแบตเตอรี่ในแบบไร้สายหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Wireless Charger นั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องกันจริงๆแล้วต้องเรียกว่า Inductive Charger เพราะในทางเทคนิคแล้วจะเป็นการชาร์จโดยอาศัยหลักการของการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กจนก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะขออธิบายถึงกระบวนการในการทำงานคร่าวๆของอุปกรณ์ซึ่งเป็นแท่นชาร์จที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่ง กับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ใดๆที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวรับ ซึ่งกระบวนการในการทำงานเป็นดังนี้

 

TDK

 

induction1

 

ภายในแท่นชาร์จ (ตัวส่ง) จะประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่ขดตัวกันเป็นวงหลายชั้น และเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปตามขดลวดก็จะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น ซึ่งเส้นแรงแม่เหล็กจะมีทิศทางพุ่งผ่านแกนกลางของขดลวดจนทำให้เกิดการแผ่กว้างออกไปของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็จะมีเส้นแรงแม่เหล็กบางส่วนที่หมุนวนกลับไปซึ่งเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ตามปกติของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่เส้นแรงแม่เหล็กที่หมุนวนกลับนี้จะกลายเป็นพลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นหากเพิ่มปริมาณกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านขดลวดมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแผ่กว้างของสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นตามไปด้วย นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับแท่นชาร์จ (ตัวส่ง)

 

20121229_85d46833a11b284ea210f6JMhVHodnOh

 

loadBinary

 

ภายในสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ใดๆที่รองรับเทคโนโลยีนี้ (ตัวรับ) ก็จะประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่ขดตัวกันเป็นวงหลายชั้นเช่นเดียวกันแต่ออกแบบให้มีจำนวนขดที่เหมาะสม โดยอาศัยหลักการในทางตรงกันข้ามคือ เมื่อนำตัวรับมาวางไว้บนแท่นชาร์จ (ตัวส่ง) สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กว้างออกมาจากแท่นชาร์จ (ตัวส่ง) เมื่อตัดกับขดลวดทองแดงที่อยู่ภายในตัวสมาร์ทโฟน (ตัวรับ) เส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งผ่านแกนกลางของขดลวดจะก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าหรือที่เรียกว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นบนขดลวดทองแดง และเมื่อนำไปผ่านกระบวนการทางไฟฟ้าจึงได้ออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า (I) และแรงดันไฟฟ้า (V) ที่เหมาะสมต่อการชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่บนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ใดๆที่รองรับเทคโนโลยีนี้นั่นเอง

 

เป็นไงครับฟังดูแล้วเหมือนจะเข้าใจยาก แต่จริงๆแล้วเป็นหลักการง่ายๆที่เราๆท่านๆเคยเรียนรู้กันมาแล้ว เช่น เรื่องของสนามแม่เหล็กและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มัธยม ซึ่งอาศัยหลักการเดียวกันกับหม้อแปลงไฟฟ้านั่นเอง

 

“การสูญเสียพลังงานหรือ Loss เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิด Loss ?”

 

แล้วสงสัยบ้างมั๊ยครับว่าในการที่ต้องสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์หรือที่เรียกว่าการเกิด Loss ขึ้นในระหว่างที่กำลังชาร์จแบตฯด้วยวิธีนี้นั้นจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง และมีปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานหรือ Loss บ้าง เรามาดูกันครับ

 

เมื่อเส้นแรงแม่เหล็กบางส่วนที่หมุนวนกลับหรือมีทิศทางพุ่งไปไม่ถึงขดลวดทองแดงของตัวรับจะก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานบางส่วน ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ก็คือ ต้องใช้เวลาในการชาร์จแบตฯที่นานขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งทำให้เปลืองไฟมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงาน ก็เช่น ระยะห่างระหว่างตัวส่งกับตัวรับ ซึ่งควรจะวางให้แนบชิดติดกัน เพราะถ้าห่างกันแม้เพียงเล็กน้อยก็จะเกิดการสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้น อีกปัจจัยนึงก็คือ เราควรวางให้แนวขดลวดระหว่างตัวส่งกับตัวรับตรงกัน หรือพูดง่ายๆก็คือให้วางไว้ตรงกลางๆ เพราะหากวางไว้เหลื่อมกันก็จะมีเส้นแรงแม่เหล็กเพียงบางส่วนที่พุ่งผ่านแกนกลางของขดลวดที่อยู่ในตัวรับได้เท่านั้น ซึ่งนั่นเท่ากับว่าจะเกิดการสูญเสียพลังงานที่มากขึ้นนั่นเอง

 

“มาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกับของเทคโนโลยีนี้ ? คำตอบคือ…”

 

Qi_logo.svgปัจจุบันมาตรฐานของการชาร์จแบตเตอรี่ในแบบไร้สายที่มีใช้กันในอุปกรณ์ Wireless Charger ทั่วๆไปนั้นจะใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันคือ Qi (อ่านว่า “ชี่“) ซึ่งมีข้อตกลงหลายอย่างที่ใช้เป็นมาตรฐานกลางร่วมกัน อาทิ ควรใช้กำลังไฟที่ต่ำ (Low Power) คืออยู่ในช่วงแค่ 0-5 วัตต์ และระยะห่างระหว่างขดลวดของตัวส่งกับตัวรับ ควรอยู่ที่ระยะประมาณ 5 มิลลิเมตร หรือสูงสุดไม่ควรเกิน 40 มิลลิเมตร เป็นต้น

 

ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตมือถือหรือสมาร์ทโฟนหลายยี่ห้อร่วมให้การสนับสนุน อาทิ Asus, HTC, Huawei, LG Electronics, Motorola Mobility, Nokia, Samsung, BlackBerry และ Sony ดังนั้นจึงนับเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้ยี่ห้ออุปกรณ์ได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราใช้สมาร์ทโฟนของ Samsung ที่ปัจจุบันก็มีหลายรุ่นที่รองรับเทคโนโลยีนี้อย่าง Galaxy S4, Galaxy Note 3, Galaxy S5, Galaxy Note 4 และ Galaxy S6 ก็สามารถที่จะเลือกใช้แท่นชาร์จแบบไร้สายของยี่ห้ออื่นได้นั่นเอง

 

 

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

คราวที่แล้วพาไปดูชิปประมวลผลรุ่นต่างๆจากค่าย Apple, Qualcomm (Snapdragon) และ Samsung (Exynos) ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM มาคราวนี้ลองไปดูชิปประมวลผลของอีกฝั่งที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 กันมั่ง ซึ่งก็คงไม่พ้นชิปจากแบรนด์ Intel นั่นเอง จะมีรุ่นไหนใช้กับสมาร์ทโฟนใดบ้าง ไปดูกันครับ

 

ชิปประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม x86

 

Intel Atom Z25xx

 

intel_atom_z2580เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมซีพียูแบบ x86-64 ซึ่งเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของ Intel เพราะฉะนั้นชุดคำสั่งต่างๆรวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ ก็มักจะไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างจากซีพียูของ Intel บนแพลตฟอร์มอื่นๆมากนัก อย่างเช่น สนับสนุนชุดคำสั่งมัลติมีเดีย MMX/SSE/SSE2/SSE3 /SSSE3 และเทคโนโลยี EIST/XD-Bit/Hyper-Threading/BPT เป็นต้น โดยซีพียูที่ใช้จะเป็น Intel Atom ในตระกูล Z2xxx ซึ่งเป็นซีพียูแบบ Dual-Core ที่ถูกออกแบบเพื่อนำมาใช้งานกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต สำหรับซีพียู Intel Atom ในตระกูล Z2xxx นี้ ถูกนำไปใช้กับสมาร์ทโฟนของ Asus ในหลายๆรุ่น โดยเฉพาะในตระกูล ZenFone รุ่นต่างๆ และของ Lenovo ในบางรุ่น เช่น Intel Atom Z2520/Z2560/Z2580 ถูกใช้ใน ZenFone 4/5/6 ตามลำดับ (ยกเว้น ZenFone 5 LTE ใช้ Snapdragon 400) และ Z2580 ยังถูกนำใช้กับ Lenovo K900 ด้วย

 

z25xx

 

Intel Atom Z2xxx รหัส Cloverview เป็นซีพียูแบบ 2 คอร์ แต่ประมวลผลพร้อมกัน 4 เธรด เนื่องจากมี Hyper-Threading เป็นซีพียูที่ถูกติดตั้งอยู่บนชิปแบบ SoC มีความเร็ว 1.2/1.6/2.0 GHz ในรุ่น Z2520/Z2560/Z2580 ตามลำดับ รองรับการประมวลผลชุดคำสั่งในแบบ 32 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ความเร็ว 300-533 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 1 MB และมีหน่วยความจำแรม LPDDR2 ขนาด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2-1066 ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตขนาด 0.032 ไมครอน หรือ 32 nm

 

Intel Atom Z35xx

 

moorefieldยังคงเป็นซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86-64 ซึ่งถูกติดตั้งอยู่บนชิปแบบ SoC ซีพียู Intel Atom ในตระกูล Z35xx นี้ เป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ (Quad-Core) แต่ไม่มี Hyper-Threading จึงประมวลผลได้คราวละ 4 เธรด มี L2 Cache ขนาด 2 x 1MB ปัจจุบันซีพียู Intel Atom Z35xx ถูกนำไปใช้กับสมาร์ทโฟนของทั้ง Asus และ Lenovo ในหลายๆรุ่น เช่น Z3560/Z3580 ถูกใช้ใน ZenFone 2 ที่มีแรม 4GB และ Z3560 ยังถูกนำใช้กับ Lenovo P90 ด้วย

 

z35xx

 

Intel Atom Z35xx รหัส Moorefield เป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ ประมวลผลพร้อมกัน 4 เธรด เนื่องจากไม่มี Hyper-Threading เป็นซีพียูที่ถูกติดตั้งอยู่บนชิปแบบ SoC มีความเร็ว 1.83/2.33 GHz ในรุ่น Z3560/Z3580 ตามลำดับ รองรับการประมวลผลชุดคำสั่งในแบบ 64 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น PowerVR G6430 ความเร็ว 457-533 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 2 x 1MB และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 รองรับความจุสูงสุด 4 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-1600 (12.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตขนาด 0.022 ไมครอน หรือ 22 nm

 

Intel Atom x3

 

x3เป็นซีพียูสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและพกพารุ่นล่าสุดจากค่าย Intel ภายใต้ชื่อรหัสว่า SoFIA ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2015 และพร้อมที่จะลงแข่งขันกับผู้ผลิตชิปรายอื่นๆในตลาดสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัวในช่วงต้นปีนี้ ก่อนที่ Atom รุ่นพี่ๆที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าอย่าง x5 และ x7 จะค่อยๆทยอยตามมาลงชิงส่วนแบ่งในตลาดแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์พกพาน้ำหนักเบาในช่วงครึ่งปีหลัง ซีพียู Atom x3 ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตขนาด 0.028 ไมครอน หรือ 28 nm ซึ่งจะมาในรูปแบบของชิปแบบ SoC คือ มีทั้งส่วนของซีพียู กราฟิก ส่วนควบคุมหน่วยความจำ ส่วนควบคุมการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ผ่านทางช่องอินพุต/เอาท์พุตต่างๆ รวมไปถึงส่วนของโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ในระบบต่างๆทั้ง 3G และ 4G เป็นต้น ทุกสิ่งเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้บรรจุไว้อยู่ภายในชิปซิลิกอนเพียงชิ้นเดียว โดยในช่วงแรก Atom x3 จะลงตลาดด้วยกัน 3 รุ่น คือ C3130 (3G), C3230RK (3G-R) และ C3440 (LTE) ซึ่งในแต่ละรุ่นมีรายละเอียดดังนี้

 

Intel Atom x3-C3130 (3G)

 

001

 

sofiaเป็นซีพียู x3 เพียงรุ่นเดียวที่มาในแบบ Dual-Core (2 คอร์) รองรับการประมวลผลแบบ 64 บิต มีความเร็วสูงสุดที่ 1 GHz มี L2 Cache ขนาด 1MB รองรับแรมชนิด LPDDR2 ที่ความจุสูงสุด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2-800 ในแบบ Single-Channel หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ใช้เป็น Mali 400 MP2 ที่รองรับ OpenGL ES 2.0 สามารถแสดงผลได้ด้วยความละเอียดสูงสุด 1280×800 ที่ 60 fps รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในแบบไร้สายด้วย Wi-Fi 802.11 b/g/n, Bluetooth 4.0 LE, รองรับ 3G และมีหน่วยประมวลผลสัญญาณภาพ (ISP) ที่รองรับความละเอียดสูงสุดของการถ่ายภาพด้วยกล้องหลังและกล้องหน้าที่ 13 และ 5 MP

 

Intel Atom x3-C3230RK (3G-R)

 

002

 

sofiaถูกออกแบบและผลิตโดยบริษัท RockChip เพื่อหวังสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าสำหรับการเปิดตลาดในจีน จึงเป็นที่มาของรหัสต่อท้ายของ x3 รุ่นนี้ว่า RK หรือ -R นั่นเอง เป็นซีพียูแบบ Quad-Core (4 คอร์ 4 เธรด) ที่รองรับการประมวลผลแบบ 64 บิต มีความเร็วสูงสุด 1.2 GHz มี L2 Cache ขนาด 2 x 1MB ( 2 คอร์ ใช้งานร่วมกันขนาด 1 MB) รองรับแรมได้ทั้งชนิด LPDDR2 และ LPDDR3 ความจุสูงสุด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2/3-1066 ในแบบ Single-Channel หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ใช้เป็น Mali 450 MP4 ที่รองรับ OpenGL ES 2.0 สามารถแสดงผลได้ด้วยความละเอียดสูงสุดถึงในระดับ FullHD หรือ 1920×1080 ที่ 60 fps รองรับ Wi-Fi 802.11 b/g/n, Bluetooth 4.0 LE, 3G และรองรับความละเอียดสูงสุดของกล้องหลังและกล้องหน้าที่ 13 และ 5 MP ด้วยเช่นกัน

 

Intel Atom x3-C3440 (LTE)

 

003

 

sofiaเป็นซีพียูแบบ Quad-Core (4 คอร์ 4 เธรด) ที่รองรับการประมวลผลแบบ 64 บิต มีความเร็วสูงสุด 1.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 2 x 1MB รองรับแรมได้ทั้งชนิด LPDDR2 และ LPDDR3 ความจุสูงสุด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2/3-1066 ในแบบ Single-Channel หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ใช้เป็น Mali T720 MP2 ที่รองรับ OpenGL ES 3.0 พร้อม DirectX 9.3 และ OpenCL สามารถแสดงผลได้ด้วยความละเอียดสูงสุด 1280 × 800 ที่ 60 fps และ 1920×1080 > 30 fps รองรับ Wi-Fi 802.11 ac, Bluetooth 4.1 LE, NFC, เครือข่าย 3G/4G (LTE) และรองรับความละเอียดสูงสุดของกล้องหลังและกล้องหน้าที่ 13 และ 5 MP เช่นเดิม สำหรับ Atom x3 รุ่นนี้ เนื่องจากสนับสนุน DirectX 9.3 API จึงมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะถูกนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 Mobile ซึ่งจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนก็ต้องขยันตามข่าวกันอีกที แต่ที่แน่ๆเห็นว่า Atom x3 ที่ออกมานี้จะมาพร้อมกับ Android 5 (Lollipop) ทั้งหมด

 

Intel Atom x5 และ x7

 

x5x7เป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพและราคาอยู่เหนือกว่า Atom x3 ขึ้นมาอีกระดับ ซึ่งจะค่อยๆทยอยตาม x3 ลงมาชิงส่วนแบ่งในตลาดแท็บเล็ตเป็นหลักในช่วงครึ่งปีหลัง โดย Atom x5 และ x7 นี้ ถูกออกแบบให้มีการทำงานในลักษณะเดียวกับซีพียูรุ่นพี่อย่าง Core M ที่จะถูกนำมาใช้งานบนโน้ตบุ๊คแบบ Ultra-thin หรือพูดให้ง่ายก็คือ จะมีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกับซีพียูรุ่นพี่ๆที่สามารถจะรันระบบปฏิบัติการเพื่อใช้ทำงานทั่วๆไปในระดับเดียวกันกับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปหรือโน้ตบุ๊คได้ ซึ่งจะต่างจาก x3 ที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับมือถือหรือสมาร์ทโฟนมากกว่า เพราะฉะนั้นเป้าหมายของ Intel ในการนำเอาซีพียู Atom x5 และ x7 มาลุยตลาดแท็บเล็ตคงไม่ได้อยู่แค่ว่าจะนำมาใช้รันระบบปฏิบัติการ Android เท่านั้น หากแต่เป้าหมายหลักน่าจะเป็นการนำมาใช้รัน Windows 8 หรือ 10 ที่จะมาพร้อมกับการรองรับแอพพลิเคชั่นต่างๆแบบเดียวกับที่ใช้รันอยู่บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปหรือโน้ตบุ๊คด้วยนั่นเอง ซึ่งตรงนี้คาดว่าน่าจะเป็นจุดขายที่สำคัญของ Atom x5 และ x7 เลยทีเดียว

 

positioning

 

 

Screen-Shot-2015-02-28-at-19.08.13 (1)

 

cherry trailจุดเด่นของซีพียู Atom ในตระกูล x5 และ x7 นอกจากจะเป็นซีพียู Quad-Core (4 คอร์ 4 เธรด) ในแบบ 64 บิต ที่ใช้ชื่อรหัสการผลิตว่า Cherry Trail แล้ว ยังเป็นซีพียูรุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่มีขนาดเล็กสุดในตอนนี้คือ 0.014 ไมครอน หรือ 14 nm และในรุ่นที่รองรับแรมชนิด LPDDR3 ในแบบ Dual-Channel ยังสามารถรองรับความจุแรมสูงสุดได้มากถึง 8 GB เลยทีเดียว โดยซีพียู Atom ในตระกูล x5 และ x7 ที่จะทยอยตาม x3 ออกมาช่วงแรกจะมีอยู่ 3 รุ่น คือ x5-Z8300, x5-Z8500 และ x7-Z8700 ซึ่งทุกรุ่นจะถูกผลิตออกมาในแบบชิป SoC มี L2 Cache ขนาด 2 MB รองรับแรม LPDDR3-1600 (25.6 GB/s) ที่ความจุสูงสุด 8 GB ในแบบ Dual-Channel (ยกเว้นรุ่น x5-Z8300 ที่รองรับแรม DDR3L-RS 1600 (12.8 GB/s) ความจุสูงสุด 2 GB ในแบบ Single-Channel เท่านั้น) หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ใช้เป็น Intel HD Graphics ซีรีย์ 8 ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่กินไฟน้อยลง ภายในมี Execution Unit ที่คอยทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลคำสั่งอยู่ถึง 12 ชุด สำหรับ x5 และ 16 ชุด สำหรับ x7 ซึ่งทั้งหมดรองรับชุดคำสั่ง DirectX 11.1, OpenGL 4.3, OpenGL ES 3.0 และ OpenCL 1.2

 

ทั้งบทความในครั้งที่แล้วและครั้งนี้ ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นชิปประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM และ x86 ที่ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนที่เราพบเห็นได้ในท้องตลาดทั่วๆไป ซึ่งแน่นอนว่าจุดเด่นที่นำมาใช้เป็นจุดขายให้กับสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่น/ยี่ห้อนั้น คงไม่ได้มองกันแค่ชิปประมวลผลที่นำมาใช้แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่องค์ประกอบอื่นๆอีกหลายอย่างร่วมด้วย ซึ่งในครั้งต่อไปผมจะหยิบยกเอาส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งมาพูดถึงนั่นก็คือ หน่วยความจำ (Memory) เราจะมาดูกันว่าหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องหรือสมาร์ทโฟนนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างทำหน้าที่อะไร แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะคร๊าบบ.บ.บ.บ!

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

หลายคนคงคลายความสงสัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ x86 กันไปบ้างแล้ว คราวนี้ถึงเวลาที่เราจะมาดูรายละเอียดของชิปประมวลผลหรือซีพียูแต่ละตัวที่ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผมก็ได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่างอยู่พอสมควร โดยได้ทำการแบ่งชิปประมวลผลออกเป็น 2 กลุ่มตามโครงสร้างพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ใช้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล๊ยยยย.ย.ย.ย.ย!

ชิปประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM

 

Apple A7 และ A6

 

a7_a6ชิป A7 ถูกพัฒนามาจากชิป A6 ที่ใช้ใน iPhone 5 และ 5c โดยถูกนำมาใช้ทำเป็นชิปหลักให้กับ iPhone 5s ที่ซึ่งทั้งชิป A7 และ A6 ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Samsung เหมือนกัน และหากมองที่รูปลักษณ์ภายนอกของตัวเครื่องทั้ง iPhone 5 และ 5s ก็แทบจะไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้น 5c ที่ตัวเครื่องอาจดูแปลกไปเพราะทำจากพลาสติกแข็ง แต่หากมองลึกลงไปถึงตัวชิปที่นำมาใช้ระหว่าง A7 ใน iPhone 5s กับ A6 ใน iPhone 5 และ 5c จะเห็นได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยชิป A7 นั้น จะใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เล็กกว่า ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟกว่าและตัวชิปมีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ยังรองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ซึ่งช่วยให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่างจากชิป A6 ที่จะรองรับแค่เฉพาะ 32 บิต เท่านั้น อีกทั้งการประมวลผลกราฟิกบนชิป A7 ก็ยังดีกว่าชิป A6 อีกด้วย

 

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง iPhone 5s กับ 5 และ 5c นอกจากเรื่องของชิปประมวลผลหลักที่ใช้คือ A7 กับ A6 แล้ว ยังต่างกันในเรื่องของชิปร่วมอีกด้วย เนื่องจากใน iPhone 5s จะมีชิปร่วมคือ M7 motion co-processor คอยทำหน้าที่ประมวลผลการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านทางเซ็นเซอร์ต่างๆแบบเดียวกับชิปร่วม M8 ที่อยู่ใน iPhone 6 และ 6 Plus แต่สำหรับ iPhone 5 และ 5c จะมีแต่เฉพาะชิปหลักคือ A6 เท่านั้น จะไม่มีชิปร่วมแต่อย่างใด

 

5s5c

 

A7 และ A6 เป็นชิปแบบ System on a Chip (SoC) คือมีองค์ประกอบทุกอย่างที่จำเป็นอยู่บนชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยชิป A7 องค์ประกอบที่ว่านี้ประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) แบบ 2 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM (Cyclone) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.3 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิกที่ใช้ PowerVR G6430 แบบ 4 คอร์ และมีแรม LPDDR3 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-1600 ในแบบ Single-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 102 ตร.มม. โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

ส่วนชิป A6 จะประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) แบบ 2 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM (Swift) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7s ที่รองรับการประมวลผลแบบ 32 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.3 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิกที่ใช้ PowerVR SGX543 MP3 แบบ 3 คอร์ และมีแรม LPDDR2 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR2-1066 ในแบบ Dual-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 96.71 ตร.มม. โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตขนาด 0.032 ไมครอน (32 nm)

 

Apple A8

 

iphone-6-a8-chipชิป A8 ถูกพัฒนามาจากชิป A7 ที่ใช้ใน iPhone 5s โดยถูกนำมาใช้ทำเป็นชิปหลักให้กับ iPhone 6 และ 6 Plus ที่เป็นสมาร์ทโฟนยอดฮิตรุ่นล่าสุดของค่าย Apple ซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท TSMC โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เล็กลงกว่าเดิม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นเพราะใช้ไฟน้อยลงแล้ว ยังช่วยให้ตัวชิปมีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิมอีกถึง 13% เมื่อเทียบกับ A7 ทั้งๆที่บนชิป A8 มีจำนวนทรานซิสเตอร์อยู่มากกว่าถึง 2 เท่า นอกจากนี้ทาง Apple ยังให้ข้อมูลว่าประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลและชุดคำสั่งจะเร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 25% และในส่วนของกราฟิกก็จะเร็วขึ้นอีก 50% ด้วย

 

สำหรับ iPhone 6 และ 6 Plus นอกจากจะมีหัวใจคือ A8 เป็นชิปหลักแล้ว ยังมีชิปร่วมอีกตัวนั่นคือ M8 motion co-processor ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ประมวลผลการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านทางเซ็นเซอร์ต่างๆด้วย เช่น Touch ID (ตรวจสอบลายนิ้วมือผู้ใช้เพื่อยืนยันตัวบุคคล), Barometer (ตรวจวัดความดันบรรยากาศหรือสภาพความกดอากาศบริเวณรอบๆ), 3-axis gyroscope (ตรวจจับการเคลื่อนไหวและลักษณะการหมุนของตัวเครื่อง), Accelerometer (ตรวจจับความเคลื่อนไหวของตัวเครื่อง), Proximity sensor (ตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวผู้ใช้งานกับตัวเครื่อง), Ambient light sensor (ตรวจวัดสภาพแสงและปรับเพิ่ม/ลดความสว่างให้อัตโนมัติ) ฯลฯ

 

6_6plus

 

A8 ก็เป็นชิปแบบ SoC เช่นกัน โดยองค์ประกอบภายในประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของซีพียู (CPU) หรือหน่วยประมวลผลข้อมูลและชุดคำสั่ง แบบ 2 คอร์ ที่เป็นลิขสิทธิ์ (License) ของ ARM (บริษัท ARM ไม่ได้เป็นผู้ผลิตชิปให้กับทาง Apple โดยตรง แต่อาศัยการขายเป็น License ให้กับบริษัทผู้ผลิตชิปเอาไปผลิตขายแทน ซึ่งทำให้ ARM ไม่ต้องลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิปเอง) ทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งล่าสุดคือ ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 1.4 GHz นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของ GPU หรือหน่วยประมวลผลกราฟิกที่ใช้ PowerVR GX6650 แบบ 4 คอร์ และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 1 GB พร้อมส่วนควบคุมแรม (Memory Controller) ที่มีความกว้างบัสขนาด 64 บิต ซึ่งสนับสนุนแรม LPDDR3-1333 ในแบบ Single-Channel องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเล็กๆขนาดเพียง 89 ตร.มม. หรือขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการออกแบบเพื่อลดขนาดของลายวงจรและอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ต่างๆที่มีอยู่กว่า 2 พันล้านตัว ให้มีขนาดเล็กลงมากๆจนถึงระดับไมครอน ซึ่งในชิป A8 จะใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่ว่านี้ให้มีขนาดที่เล็กลงจนเหลือเพียง 0.020 ไมครอน (20 nm) เท่านั้น

 

Qualcomm Snapdragon 801

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปที่ถูกพัฒนามาจาก Snapdragon 800 โดยถูกเร่งความเร็วในการทำงานให้สูงขึ้นกว่าเดิม และเริ่มมีการนำเอาชิปหน่วยความจำ eMMC 5.0 ที่รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูล 400 MB/s มาใช้ โดย Snapdragon 801 นี้ ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Qualcomm เพื่อนำมาใช้เป็นชิปหลักให้กับ Galaxy S5 ที่เป็นสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Android จากค่าย Samsung คู่ปรับตลอดกาลของ Apple ด้วยคุณสมบัติของชิปประมวลผลที่ดูจะโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็วที่สูงกว่า, จำนวนคอร์ของซีพียูและความจุแรมที่มากกว่า, หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ทรงพลัง และหากรวมถึงคุณสมบัติในด้านอื่นด้วยแล้ว Galaxy S5 ก็ถือเป็นคู่ปรับที่น่ากลัวสำหรับ iPhone 5s อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

Galaxy-s5

 

Snapdragon เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของชิปแบบ SoC ที่ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์จำพวก สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พกพา (Smartbook) ที่ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Qualcomm โดย Snapdragon 801 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียู (CPU) แบบ 4 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM โดยใช้ชื่อว่า Krait 400 ซึ่งทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7 ที่รองรับการประมวลผลในแบบ 32 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 2.5 GHz มีชิป Qualcomm Hexagon V50 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็ว 800 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 2 MB นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิก (GPU) ที่ใช้ Qualcomm Adreno 330 ความเร็ว 578 MHz และแรม LPDDR3 ขนาด 2 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-800 (12.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

Qualcomm Snapdragon 805

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปที่ถูกพัฒนามาจาก Snapdragon 801 ให้มีความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น ความจุแรมเพิ่มมากขึ้น รองรับการบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงในระดับ 4K ฯลฯ โดย Snapdragon 805 เป็นชิปหลักที่ถูกนำมาใช้กับ Samsung Galaxy Note 4 (โมเดล 910S ที่เป็น LTE Cat6) ที่เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดของตระกูล Note ที่มีปากกา S Pen สำหรับเขียนหน้าจอติดมาให้ด้วยจากค่าย Samsung ซึ่งถูกเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2014 (ชิงเปิดตัวตัดหน้า iPhone 6 และ 6 Plus ไปก่อนเพียง 6 วัน) และหลังจากนั้นไม่กี่วันก็เริ่มทยอยออกวางจำหน่ายไปในหลายประเทศทั่วโลก

 

note4

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียู (CPU) แบบ 4 คอร์ ที่เป็น License ของ ARM โดยใช้ชื่อว่า Krait 450 ซึ่งทำงานบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv7-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต ด้วยความเร็วสูงสุด 2.7 GHz มีชิป Qualcomm Hexagon V50 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็ว 600 MHz มีหน่วยความจำ L2 Cache ขนาด 2 MB นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโครงสร้างในส่วนของกราฟิก (GPU) ที่ใช้ Qualcomm Adreno 420 ความเร็ว 600 MHz และแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมขนาด 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-800 (12.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.028 ไมครอน (28 nm)

 

Qualcomm Snapdragon 808

 

qualcomm-snapdragon-800_02เป็นชิปตัวแรกของ Qualcomm ที่นอกจากจะมี 6 คอร์ (2+4) แล้ว ยังได้มีการปรับมาใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM big.LITTLE Processing เป็นครั้งแรก ที่ซึ่งเป็นการนำเอาซีพียู 2 ตัวมาช่วยกันทำงานโดยตัวนึงจะทำหน้าที่เป็นตัวหลัก (Big Cores) ในการประมวลผลสำหรับงานหนักๆที่ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง ส่วนอีกตัวจะทำหน้าที่เป็นตัวรอง (LITTLE Cores) ในการประมวลผลสำหรับงานทั่วๆไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังในการประมวลผลสูง โดยสถาปัตยกรรมซีพียูดังกล่าวนี้จะใช้เทคโนโลยี Heterogeneous Multi-Processing (HMP) มาช่วยควบคุมการกระจายงานให้กับทุกๆคอร์ของซีพียูทั้ง 2 ตัวอย่างเหมาะสมโดยอัตโนมัติ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประมวลผลแล้ว จุดเด่นที่สำคัญก็คือ ช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน Snapdragon 808 นี้ ถูกนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนของ LG รุ่น G4

 

LG-G4-Rumors2

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 2 คอร์ ความเร็ว 1.82 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.44 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 6 คอร์ (2+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีชิป Qualcomm Hexagon V56 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็วสูงสุด 800 MHz มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Adreno 418 ความเร็ว 600 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมแบบ 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-933 (14.9 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.020 ไมครอน (20 nm) เท่านั้น

 

Qualcomm Snapdragon 810

 

qualcomm-snapdragon-800_02Snapdragon 810 เป็นชิปรุ่นถัดมาของ Qualcomm ที่ยังคงใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมซีพียูแบบ ARM big.LITTLE Processing อยู่ แต่ซีพียูตัวหลักถูกปรับมาใช้เป็น 4 คอร์ ทำให้มีจำนวนคอร์ทั้งสิ้น 8 คอร์ (4+4) และถือเป็นซีพียูรุ่นแรกที่นำเอาหน่วยความจำล่าสุดอย่าง LPDDR4 มาใช้ ซึ่งเราจะพบกับซีพียูรุ่นนี้ได้ในสมาร์ทโฟน LG G Flex, HTC One M9, Sony Xperia Z4 ฯลฯ

 

m9z4

 

เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 2.0 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.6 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลได้ทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีชิป Qualcomm Hexagon V56 เป็นหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP) ความเร็วสูงสุด 800 MHz มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Adreno 430 ความเร็ว 650 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR4 ขนาด 2 และ 3 GB พร้อมส่วนควบคุมแรมแบบ 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR4-1600 (25.6 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตคงเดิมคือ 0.020 ไมครอน (20 nm)

 

Exynos 7 Octa 7410

 

Exynos-7-14-nm-finfetหรือชื่อเดิมคือ Exynos 5 Octa 5433 เป็นชิปหลักอีกตัวนอกเหนือไปจาก Snapdragon 805 ที่ถูกนำมาใช้กับ Samsung Galaxy Note 4 แต่จะมีอยู่แต่เฉพาะในโมเดล 910C ที่เป็น LTE Cat4 150/50 Mbps เท่านั้น รวมไปถึง Galaxy Note Edge (LTE) ด้วย โดย Exynos 7 Octa 7410 เป็นชิปที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาโดยบริษัท Samsung โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น License ของ ARM ซึ่งมาพร้อมการทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing ที่เป็นการนำเอาซีพียู 2 ตัวมาช่วยกันทำงาน ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้

 

note-edge1

 

Exynos 7 Octa 7410 หรือ Exynos 5 Octa 5433 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.9 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.3 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Mali-T760 MP6 ความเร็ว 700 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR3 ขนาด 3 GB พร้อมด้วยส่วนควบคุมหน่วยความจำแบบ 32 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR3-825 (13.2 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต 0.020 ไมครอน หรือ 20 nm

 

Exynos 7 Octa 7420

 

Exynos-7-14-nm-finfetเป็นชิปที่ถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดของ Samsung อย่าง Galaxy S6 และ S6 Edge ซึ่งยังคงใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็น License ของ ARM ที่มาพร้อมการทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing แต่ถือเป็นชิปรุ่นแรกที่ลดขนาดของกระบวนการผลิตให้เล็กลงเหลือเพียง 0.014 ไมครอน หรือ 14 nm เท่านั้น แถมยังนำเอาหน่วยความจำล่าสุดอย่าง LPDDR4 มาใช้เป็นครั้งแรกด้วย

 

us-galaxy-s6-s6-edge

 

Exynos 7 Octa 7420 เป็นชิปแบบ SoC ที่มีโครงสร้างภายในประกอบด้วยซีพียูหลักคือ Cortex-A57 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 2.1 GHz และซีพียูรองคือ Cortex-A53 แบบ 4 คอร์ ความเร็ว 1.5 GHz รวมเป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ (4+4) ร่วมกันทำงานในแบบ ARM big.LITTLE Processing บนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8-A ที่รองรับการประมวลผลทั้งในแบบ 32 และ 64 บิต มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็น Mali-T760 MP8 ความเร็ว 772 MHz และมีหน่วยความจำแรม LPDDR4 ขนาด 3 GB พร้อมด้วยส่วนควบคุมหน่วยความจำแบบ 64 บิต ที่สนับสนุนแรม LPDDR4-1555 (24.8 GB/s) ในแบบ Dual-Channel โครงสร้างภายในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ถูกบรรจุลงในชิปซิลิกอนชิ้นเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพียง 0.014 ไมครอน หรือ 14 nm

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นชิปประมวลผลหรือซีพียูที่มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมในแบบ ARM ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายๆตัวนั้นได้ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ทีนี้เราหันมามองทางฝั่งของชิปประมวลผลหรือซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 กันบ้าง ซึ่งก็แน่นอนว่าซีพียูที่ใช้ก็ต้องมาจากแบรนด์ Intel นั่นเอง แต่..อ๊ะๆ เพื่อป้องกันความสับสน ผมขอยกเอาเนื้อหาไปไว้เป็นบทความในครั้งถัดไปแล้วกันนะครับ ส่วนในครั้งนี้ผมขอพักไว้เท่านี้ก่อน เข้าหน้าฝนแล้วแต่น้องฝนมามั่งไม่มามั่งเล่นเอาจนแล้งจัดไปหลายพื้นที่ ยังไงช่วงนี้อากาศแปรปรวนขอให้ผู้อ่านทุกท่านระมัดระวังรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะคร๊าบบ.บ.บ.บ!

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

 

กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ แล้วก็ไม่ลืมที่จะทำตามสัญญาอย่างที่ได้บอกไปคราวที่แล้วว่า ในบทความครั้งนี้ผมจะมาแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า สถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86 ให้ฟัง ว่าไอ้เจ้าสถาปัตยกรรมที่พูดถึงนี้ มันคืออะไร แตกต่างกันยังไง และมันเกี่ยวข้องกับชิปประมวลผลบนสมาร์ทโฟนอย่างไรบ้าง อ้าวววว! พร้อมยางง.ง.ง หนายยยไหนใครนั่งหลับ (แปรงลบกระดานปลิว…ฟิ้วววว!) …อ้าวววว! ถ้าพร้อมแล้วงั้นไปกันเล๊ยยยย!

 

สถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86

 

 

armx86สถาปัตยกรรม (Architecture) ในที่นี้หมายถึง การออกแบบในส่วนต่างๆที่สำคัญของซีพียู ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง จำนวนรีจิสเตอร์ที่จำเป็น หน้าที่ที่จำเป็นของหน่วยประมวลผลตัวเลขและหน่วยควบคุม ฯลฯ แรกเริ่มเดิมทีนับตั้งแต่ซีพียูในยุค 32 บิต จนมาถึงยุค 64 บิตในปัจจุบัน การออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของซีพียูได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 แบบ

 

ARM-Chipsแบบแรกคือ ARM ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ARM Holding ซึ่งการออกแบบโครงสร้างชุดคำสั่งของ ARM จะอาศัยแนวคิดเดียวกันกับสถาปัตยกรรม RISC ที่ออกแบบให้ซีพียูทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน คือ 1 Cycle ต่อ 1 คำสั่ง ซึ่งจะเป็นเวลาโดยรวมเมื่อเฉลี่ยออกมาแล้ว โดยจะพยายามลดจำนวนคำสั่งต่างๆลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานให้มากที่สุด แล้วอาศัยหลักการของไปป์ไลน์ (pipeline) มาช่วยทำให้เกิดการทำงานในแบบคู่ขนานเหลื่อมกัน (overlap) หรือให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe)ในแต่ละสถานีตามลำดับเรียงกันไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาในส่วนอื่นๆเพิ่มเติมอีก อาทิ เข้าควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลตัวเลขและหน่วยควบคุมได้ในทุกๆคำสั่ง ทำให้การทำงานลดความซับซ้อนและลดขนาดของโปรแกรมลง เพิ่มจำนวนผลลัพธ์ของข้อมูลและการทำงานของคำสั่ง เป็นต้น

 

ผลที่ได้ก็คือ ทำให้ซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กินไฟน้อยหรือใช้พลังงานที่ต่ำมากและราคาถูก อีกทั้งยังสามารถลดขนาดของ die ให้เล็กลงมากๆได้ ดังนั้นซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM จึงมักถูกนำไปใช้บนมือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาหลากหลายชนิดทั้ง สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, โน้ตบุ๊ค หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับ Desktop ขึ้นไปของ IBM และ Apple ในบางรุ่นที่มุ่งเน้นใช้งานในแบบประหยัดพลังงานเป็นหลักด้วย

 

44976-apu_teaserแบบต่อมาก็คือ X86 ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของ Intel มาตั้งแต่ยุคถือกำเนิดซีพียูหรือไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆเมื่อ 30 กว่าปีก่อน โดยสังเกตได้จากที่มาของชื่อ X86 ถ้าใครอายุราวๆ 40 หรือมากกว่า ก็น่าที่จะทราบดีว่ามันคือ เลข 2 ตัวท้ายของซีพียูหรือไมโครโพรเซสเซอร์ยุคแรกในตระกูล 8086 ไปจนถึง 80486 ที่เราคุ้นเคย และ 80586 หรือชื่อใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียนการค้าในตอนนั้นว่า Pentuim นั่นเอง ที่ผ่านมาตลอดจนถึงปัจจุบันถ้ายังนึกภาพคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูบนสถาปัตยกรรม X86 ไม่ออก ให้นึกถึงคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นต่างๆ น่านนนนแหละ….ซีพียูในเครื่องคุณนั่นแหละใช้สถาปัตยกรรม X86 เค้าแหละ แล้วถ้าถามว่าไอ้เจ้า X86 เนี่ย มันต่างยังไงกับ ARM ที่พูดถึงไปก่อนหน้านี้แล้วบ้าง อันนี้จะค่อยๆละเมียดให้ฟังนะครับ ^^

 

amd64 (1)เริ่มแรก X86 ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Intel นับตั้งแต่ยุค 16 และ 32 บิต เรื่อยมา จนมาถึงยุค 64 บิต เนื่องจาก AMD ได้พัฒนาซีพียูตัวใหม่อย่าง Athlon 64 จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างชุดคำสั่งของ X86 เสียใหม่ให้รองรับการทำงานในแบบ 64 บิต ด้วย โดยให้ชื่อชุดคำสั่งว่า AMD64 ส่วน Intel ก็ได้ปรับปรุงให้รองรับการทำงานในแบบ 64 บิต นี้ด้วยเช่นกัน โดยให้ชื่อว่า EM64T การออกแบบโครงสร้างชุดคำสั่งของ X86 จะเป็นไปตามแนวคิดเดียวกันกับสถาปัตยกรรม CISC คือ การจะเพิ่มประสิทธิภาพของซีพียูจำเป็นที่จะต้องอาศัยวิธีการเพิ่มขีดความสามารถของคำสั่งแต่ละคำสั่งให้ทำงานเพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นั่นจึงทำให้สถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ x86 นี้ จำเป็นที่จะต้องสนับสนุนชุดคำสั่งใหม่ๆที่จะเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งซีพียูก็ยังทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่ไม่แน่นอน บางครั้งอาจทำ 1 คำสั่งเสร็จภายใน Cycle เดียว แต่ในบางครั้งอาจต้องใช้หลายๆ Cycle ต่อ 1 คำสั่ง

 

“อ้าว…แล้วถ้างั้น X86 มันดียังไง ที่ผ่านมาจนทุกวันนี้ถึงยังเห็นใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายกว่า ARM ตั้งเยอะ”

 

คำตอบมันอยู่ที่ความแรงครับ นั่นเพราะซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86 จะได้รับการปรับปรุงให้สนับสนุนชุดคำสั่งใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามาอยู่เสมอ จึงสามารถเร่งความเร็วในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปได้ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเราจึงมักเห็นซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86 นี้ ถูกนำไปใช้บนคอมพิวเตอร์แทบจะทุกระดับ แต่ถ้าถามว่า…แล้วจะเอาไปใช้บนมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาอื่นๆเหมือนกับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM ได้มั๊ย!

 

intel-atom-x-3-600x338ที่ผ่านมาก็เป็นปัญหาและจุดบอดของ Intel มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เนื่องจากซีพียูบนสถาปัตยกรรม x86 ถึงแม้จะมีข้อดีในเรื่องของความแรง แต่ก็มีข้อเสียและถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันกับซีพียูจาก ARM บนตลาดอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต นั่นก็คือ ความร้อนและการบริโภคพลังงาน เนื่องจากซีพียู x86 มีความเร็วในการทำงานสูง ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงการกินไฟและความร้อนไปไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากซีพียูบนคอมพิวเตอร์ Desktop รุ่นใหม่ๆในปัจจุบัน ผู้ใช้มักจะนิยมหาชุดระบายความร้อนขนาดใหญ่หรือชุดระบายความร้อนด้วยน้ำมาติดตั้งนั่นเอง แต่ปัจจุบัน Intel ก็เริ่มที่จะตั้งตัวได้และมองเห็นช่องทาง โดยได้ทยอยจัดส่งซีพียูประหยัดไฟสำหรับตลาดสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาอื่นๆ อย่าง Atom ในตระกูล Zxxx ต่างๆลงมาชิมลางบ้างแล้วในสมาร์ทโฟนราคาประหยัดอย่าง Asus ZenFone รุ่นต่างๆ และล่าสุดก็ได้ทยอยส่งซีพียูประหยัดไฟรุ่นใหม่ๆอย่าง Atom x3 มาแล้ว และกำลังเตรียมตัวส่ง x5 และ x7 มาลุยตลาดแท็บเล็ตและโน้ตบุ๊คบางเบาในไม่ช้า

 

“สรุปว่าทั้งสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86 ทั้ง 2 ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป”
RISC

 

ซีพียู ARM มีจำนวนชุดคำสั่งที่น้อยไม่ซับซ้อนและแน่นอน สามารถปรับปรุงคำสั่งเพิ่มเติมได้ด้วยคำสั่งพิเศษที่ช่วยให้เข้ากันได้กับซอฟต์แวร์เดิมที่มีอยู่แล้ว พร้อมกันนี้ยังมีกระบวนการในการทำงานแบบไปป์ไลน์ที่ไม่สลับซับซ้อนและทำงานได้รวดเร็ว จึงมีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดี ซึ่งเมื่อเทียบประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมกับซีพียู x86 ที่ความเร็วเดียวกัน เผลอๆอาจจะดีกว่าเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากซีพียู ARM มีความเร็วต่ำกว่า ประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมจึงอาจยังสู้ x86 ไม่ได้ แต่ข้อดีของ ARM ที่ต่างจาก x86 โดยสิ้นเชิงคือ ใช้ไฟน้อยมากทำให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อย และราคาถูก

 

CISC

 

ส่วนซีพียู X86 จุดเด่นก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของความเร็วหรือประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง ซึ่งคงต้องยกให้ X86 เหนือกว่าหากมองที่ความเร็วและจำนวนบิตเท่าๆกัน แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดก็คงเป็นเรื่องของความร้อนและการบริโภคพลังงานนั่นแหละ เพราะฉะนั้นเนื่องจากทั้งสถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86 มีหลายสิ่งหลายอย่างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งโครงสร้าง ชุดคำสั่ง และอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำเอาซอฟต์แวร์หรือแม้แต่ฮาร์ดแวร์ของอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้งานร่วมกัน ก็คงต้องเลือกใช้อย่างหนึ่งอย่างใดเอานะครับ หรือแม้ปัจจุบันจะมีทางเลือกให้รันผ่านโปรแกรมจำลองอื่นๆ ก็คงฟันธงได้ว่าใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ราบรื่นเหมือนกับที่ออกแบบมาให้ใช้กับสถาปัตยกรรมซีพียูของมันเอง ว่างั้นเหอะ!

 

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

 

สมาร์ทโฟน (Smartphone) คำนี้จริงๆก็มีใช้งานมานานแล้ว เป็นชื่อที่ใช้เรียกโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่มีคุณสมบัติหรือมีความสามารถเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการสนทนาและส่งข้อความหากันผ่านเครือข่ายฯ นั่นคือ ใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ได้ด้วยในตัว เช่น มีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (OS), ติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชั่นได้, เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ฯลฯ

 

3osแรกเริ่มหลายคนคงเคยรู้จักและเคยใช้งานโทรศัพท์มือถือบางรุ่นในอดีตที่ใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการบนมือถืออย่าง Symbian, Windows Mobile, BlackBerry ฯลฯ มาก่อน ซึ่งมือถือเหล่านี้ถือเป็นอุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นแรกๆ แต่ผู้คนอาจยังไม่ค่อยรู้จักหรือคุ้นเคยกับคำว่าสมาร์ทโฟนในอดีตซักเท่าไหร่ เพราะตัวเครื่องมีราคาแพงแถมการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายก็ดูชักช้าอืดอาด แต่เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารบนโทรศัพท์มือถือก้าวรุดหน้า จากอดีตที่เคยเป็นแค่โทรศัพท์ที่ใช้พูดคุยหรือสนทนากันด้วยเสียงและส่งข้อความ SMS หากันในยุค 2G แต่ด้วยอัตราความต้องการการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ดูจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารให้ก้าวรุดหน้าไปอีกขั้น ด้วยการจัดสรรให้มีช่องสัญญาณหรือคลื่นความถี่ที่รองรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม และรองรับกับปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงเป็นที่มาของการสื่อสารข้อมูลในยุค 3G และ 4G ในปัจจุบัน

 

3os2โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน (Smartphone) ก็เช่นกัน นอกจากจะเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอย่าง Windows Phone, Android และ iOS แล้ว ปัจจุบันยังถูกพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลายจนแทบจะไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ดูหนังฟังเพลงออนไลน์, ถ่ายรูปและวิดีโอด้วยกล้องความละเอียดสูง พร้อมฟังก์ชั่นในการตกแต่งภาพหรือตัดต่อคลิปวิดีโอ, สนทนาแบบเห็นหน้ากันเป็นภาพเคลื่อนไหวในแบบ Real-Time, ตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง IP Camera ผ่านมือถือ, อัพโหลดคลิปวิดีโอของตัวเองขึ้นเผยแพร่บน Youtube ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมอุปกรณ์ Smartphone ถึงได้รับความนิยมสูงสุด จนเรียกได้ว่าแทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันไปแล้ว เพราะทุกวันนี้ถือเป็นอุปกรณ์ที่แทบทุกคนจะต้องมีพกติดตัวไปไหนมาไหนอยู่ทุกที่ด้วยเสมอ จิงป่ะ!

 

เกริ่นมาพอละ ทีนี้ขอเข้าเรื่องเลยละกัน ก็อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดจิ๋วที่เป็นโทรศัพท์ให้พูดคุยกับคนอื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นในตัวของมันจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะคอยทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทุกอย่างที่ถูกส่งมา และนั่นก็คือ ซีพียู (CPU) หรือในที่นี้ก็คือ ชิปประมวลผล นั่นเอง ซึ่งมันจะมีความสำคัญแค่ไหน ทำหน้าที่อะไรบ้าง และมีหน้าตาเป็นอย่างไร ไปดูกันครับ

 

ชิปประมวลผล (CPU) บนมือถือ

 

iphone_5s_chipset_hero_2ก่อนอื่นอยากให้มองภาพง่ายๆว่า มือถือหรือสมาร์ทโฟนของเราจริงๆแล้ว มันก็เปรียบเสมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องนึงแบบเดียวกับพีซีหรือโน้ตบุ๊คที่คุณคุ้นเคยนั่นแหละ เพียงแต่เค้าคิดค้นและออกแบบให้ชิ้นส่วนทุกๆอย่างของมันเล็กมากๆ เล็กเสียจนเรียกได้ว่าเป็นการจับเอาคอมพิวเตอร์ทั้งชุดยัดใส่ลงไปในมือถือหรือสมาร์ทโฟนที่มีขนาดเพียงแค่ฝ่ามือของคุณนั่นแหละ ฟังดูแล้วน่าทึ่งใช่มั๊ยล่ะ!! ทีนี้ลองนึกภาพว่าหากเราแกะฝาครอบและชิ้นส่วนต่างๆที่เป็นพลาสติกออกก็จะเหลือแต่ส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ อาทิ จอแสดงผล แบตเตอรี่ กล้อง ปุ่มกด ฯลฯ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ (ไม่ได้ถูกติดตั้งตายตัวลงบนแผงวงจร) และแผงวงจรรวมที่ติดตั้งชิป ส่วนเชื่อมต่อ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่สำคัญเอาไว้มากมาย ซึ่งแผงวงจรรวมดังกล่าวนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีชิปประมวลผล (CPU) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของมือถือหรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนอยู่ด้วย

 

open phone

 

iphone-6-teardown-1024x768

 

socทีนี้เรามาพูดกันเน้นๆถึงชิปประมวลผล (CPU) อ๊ะ…ไม่ใช่สิ !!! จริงๆต้องเรียกว่า “ชิปเอนกประสงค์“ เพราะในความเป็นจริงแล้วชิปดังกล่าวเป็นชิปแบบ System on a Chip (SoC) หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เป็นการรวมเอาองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ ซึ่งจะคอยทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เช่น หน่วยประมวลผลข้อมูล (CPU), หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU), หน่วยความจำ (ROM/RAM/EEPROM/FLASH), ส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller), ส่วนควบคุมการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ, ส่วนควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Voltage Regulators) และวงจรการจัดการพลังงาน (Power Management Circuits) มาผนวกรวมกันเอาไว้อยู่ภายในชิปเพียงตัวเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดพื้นที่นั่นเอง

 

เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของชิปประมวลผลบนมือถือหรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันดีแล้ว ก่อนจะไปทำความรู้จักกับชิปประมวลผลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆในปัจจุบัน ว่าไอ้รุ่นนั้นรุ่นนี้ที่เค้ากำลังฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น มันใช้ชิปประมวลผลอะไรกันบ้าง ผมจะขอคั่นด้วยการใช้โอกาสนี้อธิบายถึงที่มาที่ไปของคำว่า สถาปัตยกรรมซีพียูในแบบ ARM และ X86 ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสักเล็กน้อย ซึ่งผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยเห็นผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้วแต่อาจยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรหรือแตกต่างกันยังไง ตรงนี้ผมจะมาแจกแจงรายละเอียดให้ฟัง แต่…อ๊ะๆ ผมขอพักเข้าโฆษณา อ๊ะ! ไม่ช่ายยยย! ขอยกไปเป็นบทความถัดไปแล้วกันนะครับ เพราะรายละเอียดดูจะเข้มข้นสักนิดนึง แล้วอย่าลืมติดตามอ่านกันหล่ะ กิ๊วๆ

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน” ตอนต่อไป

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

 

 

1-2-3-4 มือถือ Gen ไหนคุณทันใช้บ้าง [ดักแก่!]

 

สวัสดีคร๊าบบบ! เน่ๆ คุณเป็นคนนึงที่คอยเฝ้าติดตามข่าวสารเทคโนโลยีในแวดวงโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องจากเพจและเว็บของ Oopsmobile มาโดยตลอดอ๊ะป่าว! ถ้าใช่ จุ๊จุ๊ ผมมีอะไรจะบอก เอียงหูเข้ามาใกล้ๆสิ

 

“ปุกาดๆ! ตอนนี้เว็บ Oopsmobile เค้าเพิ่มหมวดหมู่หรือ Catagory ที่เป็นบทความหรือเนื้อหาที่เป็นสาระประโยชน์ที่อัดแน่นเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่บนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมาให้แฟนๆได้ติดตามอ่านกันแล้วนะจ๊ะ…รู้ยางงงงง!”

 

โดยกระผมผู้ที่เฝ้าตามติดเทคโนโลยีของอุปกรณ์สื่อสารมาตั้งแต่ยุคเพจเจอร์หรือยุคที่พี่ เจ เจตริน ยังไม่เข้าวงการ ^^ จะเข้ามารับหน้าที่เป็นผู้นวดเฟ้นข้อมูลเหล่านี้ให้ได้ที่จนพร้อมเสิร์ฟแล้วนำมาวางไว้บนหน้าเว็ป Oopsmobile ให้ทุกๆท่านได้คอยติดตามอ่านกันเป็นระยะๆ ซึ่งกระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่เคยมีข้อสงสัยในหลายๆประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆบนโทรศัพท์มือถือได้คลายข้อสงสัยกันหรืออาจช่วยให้เข้าใจถึงรายละเอียดต่างๆเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

 

ถ้าอย่างนั้นบทความสำหรับการเปิดตัวในครั้งแรกนี้ ผมขอยกเอาเรื่องประวัติความเป็นมาของโทรศัพท์มือถือนับตั้งแต่ในยุคแรกๆจนถึงยุคปัจจุบันมาเล่าสู่กันฟังดีกว่า ก่อนที่จะนำไปสู่เรื่องราวของเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่บนโทรศัพท์มือถือกันอย่างจริงจังในโอกาสต่อๆไป ว่าแล้วจะรอช้าอยู่ใย…ไปดูกันเล๊ยยยย!

 

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

 

ยุค 0G หรือ Zeroth Generation

 

bell from-backpack-transceiver-smartphone-visual-history-mobile-phone.w654 (2)

 

การสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือในยุคแรกๆ จะเป็นการสื่อสารกันด้วยวิทยุสื่อสารไร้สายในระบบอนาล็อค (Analog) ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Waves) โดยจะเป็นการสื่อสารกันในแบบกึ่งสองทาง (Half Duplex) คือ ผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่ง หรือสลับกันพูด จะพูดพร้อมกันในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารที่ใช้ติดต่อกันระหว่างเรือกับเรือ หรือรถไฟกับรถไฟในสมัยนั้น ฯลฯ ต่อมาหลังผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายๆประเทศเริ่มพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่กันอย่างจริงจัง โดยมีบริษัท Bell Mobile System ของอเมริกาได้เข้ามาริเริ่มปรับปรุงโครงสร้างการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นรายแรก แต่ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเต็มระบบ เพราะยังรองรับการโทรพร้อมๆกันได้น้อยและมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ซึ่งตรงนี้เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 0G หรือ Zeroth Generation

 

ยุค 1G หรือ First Generation

 

phone01

ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกจึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยเป็นผลงานการคิดค้นร่วมกันของนาย John F.Mitchell และนาย Martin Cooper จากบริษัท Motorola ซึ่งโทรศัพท์เครื่องนี้มีน้ำหนักมากถึงเกือบ 2 กิโลกรัม แถมยังต้องชาร์จไฟนานถึง 10 ชั่วโมงเพียงเพื่อให้ใช้งานโทรศัพท์ได้นานแค่ 30 นาที ถัดมาหลังจากนั้นอีก 6 ปี บริษัท NTT ก็ได้เปิดตัวเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบอัตโนมัติในเชิงพาณิชย์ขึ้นในญี่ปุ่นเป็นรายแรก พร้อมๆกับการที่ Motorola ก็ได้เปิดตัว DynaTAC 8000X ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกที่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือในระบบอื่นๆจากอีกหลายประเทศ เช่น ระบบนอร์ดิก (NMT : Nordic Mobile Telephone System) ที่มีให้บริการในกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียนอย่าง เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ซึ่งในปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยเองโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็ได้นำเอาระบบนี้เข้ามาใช้ แต่ได้ปรับเปลี่ยนความถี่ใช้งานจาก 450 MHz มาเป็น 470 MHz โดยให้ชื่อว่าระบบ NMT470 ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบโทรศัพท์มือถือระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑล และจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายการให้บริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา สำหรับตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ถูกนำมาใช้งานในระบบ NMT470 นี้ จะมีหน้าตาคล้ายกระเป๋าหิ้ว และมีน้ำหนักมาก พูดแบบนี้คนที่เป็นผู้ใหญ่หลายท่านคงนึกภาพออกกันนะครับ ^^

 

123

ต่อมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ประเทศไทยโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทยยังได้นำเอาระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ที่ใช้งานบนความถี่ 800 MHz เข้ามาเปิดให้บริการด้วย โดยใช้ชื่อว่าระบบ AMPS800 ซึ่งผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินชื่อนี้เพราะเป็นระบบที่เคยได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนั้น ด้วยข้อดีที่ว่าตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ถูกนำมาใช้งานกับระบบนี้ จะมีขนาดเล็กทำให้พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกกว่านั่นเอง

 

ในช่วงที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเปิดให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ NMT470 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ก็ได้มีการกำหนดรหัสสำหรับการเรียกเข้าสู่ระบบโทรศัพท์มือถือที่เป็นการเฉพาะขึ้น นอกเหนือจากรหัสทางไกลสำหรับโทรไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยรหัสที่กำหนดคือ 01 ซึ่งผู้ที่ต้องการติดต่อหรือโทรเข้ายังระบบโทรศัพท์มือถือต้องใส่รหัส 01 แล้วตามด้วยหมายโทรศัพท์มือถือ 7 หลัก ซึ่งภายหลังผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือในระบบ AMPS800 ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเอง ก็ถูกปรับให้มาใช้รหัสเลขหมายที่ขึ้นต้นด้วย 01 นี้ด้วยเช่นกัน

 

2phone

การเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบต่างๆที่กล่าวมาในช่วงยุคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนมาถึงราวๆปี พ.ศ. 2533 จะให้บริการรับส่งข้อมูลเฉพาะที่เป็นเสียง (Voice) หรือเป็นการโทรเข้าและรับสายอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถรับส่งข้อมูลที่เป็น Data อย่างเช่น ข้อความหรือ SMS ได้ จึงถูกจัดให้เป็นระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 1G หรือ First Generation เนื่องจากเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ยังคงเป็นแบบอนาล็อค (Analog) ซึ่งยังคงใช้หลักการพื้นฐานของการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) อยู่ โดยอาศัยวิธีการแบ่งช่องความถี่ออกเป็นความถี่ย่อยหลายๆช่องแล้วใช้สัญญาณคลื่นวิทยุเป็นตัวนำพาคลื่นเสียงส่งไปยังสถานีรับ แต่ทั้งนี้เนื่องจากในทุกๆ 1 คลื่นความถี่จะเท่ากับ 1 ช่องสัญญาณ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมาในเวลานั้นจะสามารถใช้บริการโทรศัพท์ได้เฉพาะในช่องความถี่ที่ว่างอยู่เท่านั้น ส่งผลให้เมื่อมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ระบบก็ไม่สามารถรองรับการให้บริการพร้อมๆกันได้ จึงทำให้ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคนี้ไม่ได้รับความนิยมมากนักและก่อให้เกิดเป็นแรงผลักดันเพื่อการพัฒนาไปสู่ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคถัดไป

 

ยุค 2G หรือ Second Generation

 

3310หลังจากนั้นในปีต่อๆมาจึงได้มีการพัฒนารูปแบบของการสื่อสารไร้สายจากเดิมที่เป็นการส่งสัญญาณเสียงผ่านคลื่นความถี่วิทยุในระบบอนาล็อค (Analog) มาเป็นการเข้ารหัสสัญญาณเสียงในระบบดิจิตอล (Digital) ก่อนที่จะถูกส่งผ่านไปบนคลื่นความถี่ไมโครเวฟที่อาศัยหลักในการส่งสัญญาณแบบ TDMA ซึ่งในการเข้ารหัสสัญญาณในระบบดิจิตอลนี้ แน่นอนว่านอกจากจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้มากกว่าระบบอนาล็อคเดิมแล้ว ยังช่วยในเรื่องของคุณภาพของสัญญาณเสียงที่ได้ในระหว่างที่มีการติดต่อสื่อสารกันก็จะยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย โดยในยุคนี้นอกจากตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือจะมีขนาดที่เล็กลงและบางเบาขึ้นแล้ว ยังได้เริ่มมีการนำเอาซิมการ์ดมาใช้ และถือเป็นยุคแรกของการเริ่มต้นใช้งาน Data ด้วยการเปิดให้บริการรับส่งข้อความสั้นๆที่เป็น Short Message Service หรือ SMS ร่วมด้วย

 

cellularนอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจากเดิมที่เป็นระบบอนาล็อคเซลลูล่าร์ (Analog Cellular) มาเป็นระบบดิจิตอลเซลลูล่าร์ (Digital Cellular) เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือในระบบเซลลูล่าร์ต่างๆที่จะตามมา โดยโทรศัพท์มือถือในระบบเซลลูล่าร์นี้จะติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผ่านทางการเชื่อมต่อกับสถานีฐานหรือ Cell Site ที่ในแต่ละจุดจะถูกกำหนดให้ดูแลครอบคลุมพื้นที่ใช้งานของตัวเองที่ถูกแบ่งออกเป็น เซลล์ (Cell) ทำให้นอกจากจะปลอดภัยจากการดักฟังแล้ว ยังช่วยให้เกิดการโทรข้ามประเทศหรือ International Roaming ได้อีกด้วย เพราะระบบดิจิตอลเซลลูล่าร์ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานที่หลายๆประเทศจะต้องใช้งานร่วมกัน และนี่เองจึงก่อให้เกิดเป็นที่มาของคำว่า GSM หรือ Global System for Mobile ที่เรามักได้ยินกันอยู่บ่อยๆจนคุ้นหูนั่นเอง

 

2.5G

 

544e0a5440b43หลังจากนั้นมาตรฐาน GSM ก็ได้ถูกพัฒนาให้มีขีดความสามารถที่จะรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วที่สูงยิ่งขึ้นจนทำให้เกิดเป็นมาตรฐาน GPRS ที่ในทางทฤษฏีจะรองรับความเร็วสูงสุดได้ถึง 115 Kbps (ในทางปฏิบัติอาจถูกจำกัดไว้แค่ 40 Kbps) ซึ่งช่วยให้สามารถรับส่งข้อมูลที่เป็น ข้อความ ภาพ และเสียงที่อยู่ในรูปแบบของมัลติมีเดียต่างๆหรือที่เรียกว่า MMS (Multimedia Messaging Service) ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ อีกทั้งในยุคนี้ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน้าจอโทรศัพท์ให้รองรับการแสดงผลที่เป็นสีสันต่างๆมากขึ้น รวมไปถึงเสียงเรียกเข้าก็ได้ถูกพัฒนาจาก Monotone มาเป็น Polyphonic ที่ให้ระดับและคุณภาพของเสียงที่ไพเราะยิ่งขึ้น ก่อนจะพัฒนามาเป็น MP3 ในอีกหลายปีถัดมา

 

2.75G

 

nokiaN95_1691092iก้าวเข้าสู่ยุคของ EDGE ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS ให้รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในทางทฤษฏีจะมีความเร็วสูงสุดได้ถึง 384 Kbps แต่ในทางปฏิบัติความเร็วในระดับนี้คงเกิดขึ้นได้ยาก เพราะด้วยข้อจำกัดของระบบที่ต้องมีการแบ่งช่องสื่อสารสำหรับการใช้งานด้านเสียงไว้ด้วย เนื่องจากในยุคนี้เรายังไม่สามารถใช้งาน Data กับ Voice ไปพร้อมๆกันได้ ตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้มีโอกาสสัมผัสกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมาตรฐาน EDGE กันมาบ้างแล้ว
สรุปว่าระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G หรือ Second Generation นอกจากจะเป็นประตูเปิดสู่โลกในยุคดิจิตอลของระบบโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังเป็นประตูเปิดสู่ยุคของการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริงอีกด้วย เพราะนอกจากตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น เป็นหน้าจอสี มีกล้องถ่ายรูป ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ และใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว ยังเป็นยุคเดียวกับที่บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหลายๆรายทั่วโลกต่างก็หันมาเปิดตัวโทรศัพท์มือถือหรือที่ในภายหลังถูกเรียกว่าสมาร์ทโฟน (SmartPhone) ขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการให้บริการในระบบ 2G ที่ใช้มาตรฐาน GSM บนคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz

 

ยุค 3G หรือ Third Generation

 

iphone_3g_16gb_black_front_600x600นับตั้งแต่ยุค 2G เป็นต้นมา ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการในการใช้งาน Data บนโทรศัพท์มือถือนับวันก็ยิ่งดูจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทางออกจึงต้องทำให้ระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก ในปี พ.ศ. 2544 หรือผ่านมาอีก 10 ปี ระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 3G หรือที่เรียกว่าระบบ UMTS (W-CDMA) ซึ่งเป็นระบบที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากยุค 2G จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นการนำเอาข้อดีของระบบเครือข่ายบนมาตรฐาน CDMA ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยสหรัฐฯมาปรับใช้กับระบบ GSM ในเมืองไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มประเทศในแถบยุโรป โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU เป็นผู้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz เป็นคลื่นความถี่มาตรฐานสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่รองรับเทคโนโลยี 3G เพื่อให้ในทุกๆประเทศใช้เป็นมาตรฐานกลางร่วมกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมาขายจะรองรับการใช้งานบนคลื่นความถี่ 2100 MHz เป็นหลักแทบทั้งสิ้น ส่วนจะมีคุณสมบัติรองรับความถี่ย่านอื่น เช่น 850, 900, 1800 และ 1900 MHz ด้วยหรือไม่นั้น ตรงนี้ถือเป็นทางเลือกของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ตามมาตรฐานสากลแล้วการใช้งานที่เข้าข่ายหรือถูกจัดว่าเป็นเทคโนโลยี 3G จะต้องมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่ต่ำไปกว่า 2 Mbps (ในขณะใช้งานอยู่กับที่หรือในขณะเดิน) และต้องมีอัตราความเร็วไม่น้อยไปกว่า 384 Kbps (ในขณะใช้รถหรือในขณะวิ่ง) ซึ่งถ้าหากมีอัตราความเร็วที่ต่ำไปกว่านี้ก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เป็น EDGE แทน นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือที่รองรับกับเทคโนโลยี 3G จะต้องใช้งานร่วมกับโครงข่ายอื่นๆทั่วโลกได้ด้วย

 

3.5G

 

2012-iphone4s-gallery1-zoomเป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี 3G เดิม ในระบบ UMTS (W-CDMA) ที่มีความเร็วสูงสุดเพียง 384 Kbps มาเป็น 3.5G ในระบบ UMTS (HSDPA) ที่ในช่วงแรกมีการเพิ่มอัตราความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝั่งขาลงหรือดาวน์โหลดให้สูงขึ้นเป็น 14.4 Mbps/384 Kbps (Download/Upload) แต่ในทางปฏิบัติผู้ให้บริการต่างๆยังคงจำกัดความเร็วไว้ให้ใช้งานจริงเพียงแค่ 7.2 Mbps เท่านั้น และในช่วงต่อมาก็ได้มีการพัฒนาการรับส่งข้อมูลทางฝั่งขาขึ้นหรือการอัพโหลดให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5.76 Mbps โดยให้ชื่อว่าระบบ HSUPA ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานเมื่อรวมทั้ง 2 ระบบคือ HSDPA และ HSUPA เข้าไว้ด้วยกัน จนกลายมาเป็น 3.5G ในระบบ UMTS (HSPA) ที่ถูกใช้งานกันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 14.4 Mbps/5.76 Mbps (Download/Upload) นั่นเอง

 

3.9G

 

images_13474844861สั้นๆก็คือเป็นการต่อยอดจาก 3.5G ในระบบ UMTS (HSPA) เดิม ให้มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดขยับเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 42 Mbps/22 Mbps (Download/Upload) แล้วให้ชื่อเรียกเสียใหม่ว่าเป็น 3.9G ในระบบ UMTS (HSPA+) นั่นเอง

 

ก่อนจะไปต่อเดี๋ยวขออธิบายเพิ่มเติมไว้ตรงนี้นิดนึงนะครับว่าที่เห็นความเร็วสูงสุดเท่านั้นเท่านี้ เช่น 7.2 Mbps บ้าง 14.4 Mbps หรือ 42 Mbps บ้าง อันนี้อย่าเพิ่งกระหยิ่มยิ้มย่องดีใจไปนะครับว่าเครื่องชั้นแพ็คเกจชั้นต้องได้ความเร็วเท่านั้นเท่านี้ไปตลอด บางท่านทราบแต่อีกหลายๆท่านอาจไม่ทราบว่า ผู้ให้บริการมือถือทุกๆรายทั่วโลกจะมีนโยบายที่เป็นมาตรฐานสากลที่ต้องยึดถือเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันสำหรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย 3G และ 4G บนมือถือ ซึ่งเรียกว่า FUP หรือ Fair Usage Policy

 

 

130619012323772

 

 

นโยบายตรงนี้มีไว้เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการใช้งาน Data ผ่านเครือข่าย 3G และ 4G เพื่อให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยคุณจะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็วสูงสุดตามแพคเก็จที่เลือกใช้และที่ตัวเครื่องรองรับไปตลอดจนกว่าปริมาณการใช้งาน Data จะครบตามจำนวนที่ผู้ให้บริการกำหนดไว้ ซึ่งถ้าหากใช้งาน Data ครบตามปริมาณการใช้งานที่กำหนดไว้แล้ว คุณจะได้รับ SMS เตือนว่าคุณใช้แพคเก็จความเร็วสูงสุดครบแล้ว ซึ่งทั้งนี้คุณยังคงสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านบนมือถือได้อยู่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติมเพียงแต่คุณจะถูกปรับลดความเร็วในการใช้งานลง จนทำให้ไม่ได้ใช้ความเร็วสูงสุดตามแพคเก็จที่เลือกไว้และที่ตัวเครื่องรองรับไปตลอดจนกว่าจะครบรอบบิลตามแพคเก็จที่คุณเลือก เช่น หากคุณเลือกใช้แพคเก็จรายเดือนแบบไม่จำกัดการใช้งาน 3G/4G หรือ Unlimited ความเร็วที่คุณจะสามารถใช้งานได้ทั้งก่อนและหลังที่คุณจะใช้งาน Data ครบตามปริมาณที่กำหนดของผู้ให้บริการแต่ละรายในประเทศไทยสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

 

  • AIS 3G/4G ใช้ความเร็วสูงสุดได้ 7.2 Mbps (HSPA) หลังจากใช้งาน Data ครบ 3 GB แล้วความเร็วจะลดลงเหลือเพียง 384 Kbps
  • DTAC 3G/4G ใช้ความเร็วสูงสุดได้ 42 Mbps (HSPA) หลังจากใช้งาน Data ครบ 1-3 GB แล้ว ความเร็วจะลดลงเหลือเพียง 128 หรือ 384 Kbps (แล้วแต่แพคเก็จย่อยๆ)
  • TRUE 3G/4G ใช้ความเร็วสูงสุดได้ 42 Mbps (HSPA+) หลังจากใช้งาน Data ครบ 3 GB แล้วความเร็วจะลดลงเหลือเพียง 128 Kbps

 

ที่ผู้ให้บริการมือถือแต่ละค่ายทำเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้นำอินเตอร์เน็ตบนมือถือมาใช้งานในแบบที่ผิดวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น โหลดบิท โหลดหนัง หรือส่งคลิปวิดีโอขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลในปริมาณมาก หากนำไปใช้งานในลักษณะนี้พร้อมๆกันหลายคน อาจส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน Data ปกติบนมือถือคนอื่นๆที่อยู่บนเครือข่ายด้วย เพราะแบนด์วิธจะถูกดึงไปใช้จนทำให้คนอื่นๆที่อยู่บนเครือข่ายได้รับความเร็วลดลงนั่นเอง

 

กลับมาเข้าเรื่องกันต่อไหนๆก็พูดถึงข้อกำหนดต่างๆที่ใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับเทคโนโลยี 3G และความเร็วในยุคต่างๆของ 3G กันไปแล้ว ทีนี้มาพูดถึงจุดเด่นกันบ้าง จุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ถือได้ว่ามีความเร็วมากพอที่จะรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่หรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆบนอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังรองรับการเปิดดูคลิปวิดีโอหรือแม้แต่การเปิดดูรายการถ่ายทอดสดต่างๆ ตลอดไปจนถึงการใช้งาน Data ที่สามารถใช้งานไปพร้อมๆกับการสนทนาหรือพูดคุยโทรศัพท์ได้ด้วยอย่าง Video Call เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ในยุค 2G ยังทำไม่ได้ และจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่างก็คือ มันจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลา (Always On) เพื่อคงสถานะการออนไลน์เอาไว้ แม้การเชื่อมต่ออาจจะหลุดไปเองในบางครั้งแต่มันก็จะกลับมาเชื่อมต่อใหม่ให้เองโดยอัตโนมัติเสมอ คล้ายๆกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบ High Speed ที่บ้านคุณนั่นแหละ คือไม่ต้องมาคอย Log-On เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเวลาที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งเหมือนกับโทรศัพท์มือถือในยุค 2G นั่นเอง

 

ยุค 4G หรือ Fourth Generation

 

iphone6-gold-select-2014นับตั้งแต่มีเทคโนโลยี 3G โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนได้ถูกพัฒนาไปเร็วมาก ทำให้เราสามารถเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้จากบนมือถือตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เราสามารถพูดคุยโทรศัพท์แล้วมองเห็นหน้ากันและกันในแบบ Realtime ได้ ทำให้เราสามารถดูทีวีออนไลน์ที่เป็นรายการสดต่างๆได้จากบนมือถือในทุกๆที่ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นวิวัฒนาการอันน่าทึ่งของเทคโนโลยี 3G ที่ช่วยให้การรับส่งข้อมูลปริมาณมากๆผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องง่ายๆสำหรับทุกคน แต่ก็ใช่ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านความเร็วของการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะเพียงพอและหยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นี้ เพราะที่ผ่านมาการใช้งาน 3G ต้องขอบอกเลยว่ายังพบกับปัญหาต่างๆอยู่อีกมากมาย เช่น เน็ตหลุด สัญญาณข้ดข้อง ภาพกระตุก ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถูกจำกัด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนกลายเป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคถัดไปนั่นคือเทคโนโลยี 4G นั่นเอง

 

111ระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G ได้ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคก่อนๆให้มีประสิทธิภาพและมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งความเร็วบนมาตรฐาน 4G นั้น ได้ถูกกำหนดไว้ที่ 1 Gbps แต่ด้วยขีดจำกัดทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของผู้ให้บริการ จึงทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนมาตรฐาน 4G ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยังมีความเร็วไม่ถึงตามที่กำหนด โดยที่ใช้ๆกันอยู่จะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 100 -120 Mbps เท่านั้น แต่ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นนี้ก็ยังช่วยให้เราสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆที่รองรับกับเทคโนโลยี 4G นี้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งการดูวิดีิโอออนไลน์ด้วยความคมชัดและไม่มีการกระตุก, การโทรฯข้ามประเทศแบบมองเห็นหน้ากันและกันที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันที ณ ขณะนั้น (Video Call) และการประชุมทางไกลผ่านโทรศัพท์ (Tele-Conference) ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่นอกสำนักงาน เป็นต้น

 

ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G จริงๆแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX ซึ่งจะนิยมใช้แค่ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และบังคลาเทศ กับ LTE หรือ Long Term Evolution ที่ซึ่งเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้กันแพร่หลายในบ้านเราเวลานี้ โดยอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี 4G LTE ได้นี้ ก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่เหมือนๆกันกับอุปกรณ์สื่อสารที่รองรับกับเทคโนโลยี 3G ที่เราใช้ๆกันอยู่นี่แหละ เพียงแต่มีชิปที่รองรับกับเทคโนโลยี 4G LTE ติดตั้งอยู่ในเครื่อง

 

1409162387973screencapture  4GTechno

 

ปัจจุบันในประเทศไทยหลังจากผ่านพ้นการประมูลคลื่นความถี่ 4G ไปแล้ว ผู้ให้บริการจาก 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ในประเทศที่ประมูลได้ไปคือ AIS, True Move H และ Dtac ต่างก็ไปจัดเตรียมและปรับปรุงเครือข่ายของตนที่มีอยู่แล้วเกือบทั่วประเทศให้รองรับกับการเปิดให้บริการ 4G ในอนาคต โดยปัจจุบัน True Move H ถือเป็นค่ายแรกที่ได้เปิดให้บริการใช้งาน 4G LTE บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ไปแล้ว ที่ถึงแม้คลื่นดังกล่าวจะถูกประมูลมาเพื่อใช้ทำ 3G ก็ตาม แต่ True Move H ก็ได้ถือโอกาสแบ่งคลื่นความถี่บางส่วนมาใช้ทำ 4G ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ถ้าลูกค้าจะใช้บริการ 4G LTE ของ True Move H ตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารที่นำมาใช้นอกจากจะต้องรองรับกับเทคโนโลยี 4G LTE แล้ว ก็จะต้องรองรับการใช้งานบนคลื่นความถี่ 2100 MHz ด้วย ส่วนอีกสองค่ายที่เหลือคือ AIS และ Dtac กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบการใช้งาน ซึ่งคาดว่าภายในปีนี้น่าจะเตรียมเปิดให้บริการ 4G LTE บนคลื่นความถี่ 2300 MHz สำหรับ AIS และคลื่นความถี่ 2100 MHz สำหรับ Dtac แล้วด้วยเช่นกัน

 

4.5G

 

qualcomm_carrier_aggregationเป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ถูกพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นจาก 4G LTE เดิม ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจนกลายมาเป็น 4.5G LTE-Advanced หรือ 4.5G ( LTE-A ) ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 150 Mbps หรือประมาณให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังขนาด 1GB ให้เสร็จได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาทีนั่นเอง นอกจากนี้ LTE-A ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ LTE เดิมได้ แต่อาจไม่สามารถใช้งานลูกเล่นใหม่ๆ บางประการของ LTE-A บนระบบ LTE ได้

 

Samsung-Galaxy-S4-LTE-A

 

ระบบ LTE-A จะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเร็วของระบบที่สูงขึ้นมาก, การใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, สัญญาณบริเวณขอบเซลล์ที่ดีขึ้น, เซลล์ครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น ตลอดจนช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการโครงข่ายที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ปัจจุบันเริ่มมีบางประเทศอย่างเช่นเกาหลีใต้ ได้เริ่มให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ LTE-A นี้กันแล้ว อีกทั้งโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆภายในปีนี้ก็อาจที่จะรองรับระบบ LTE-A นี้กันมากขึ้นด้วย

 

“เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน”ตอนต่อไป

โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ หัวใจอยู่ที่ “ชิปประมวลผล”

ARM กับ X86, RISC กับ CISC มหาอำนาจต่างขั้วบนโลกของซีพียู

ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน

(ต่อ) ชิปประมวลผล ARM และ Intel (x86) บนสมาร์ทโฟน